Monday, July 8, 2013

เสียงในภาษาไทย

     เสียง    

      เสียงในความหมายกว้าง ๆ หมายถึง เสียงต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเสียงมนุษย์เสียงสัตว์ หรือเสียงอื่นใดก็ตาม แต่ในการศึกษา เสียง หมายถึง เสียงที่มนุษย์เปล่งออกมาเพื่อสื่อความหมายระหว่างมนุษย์ด้วยกัน

เสียงในภาษาไทย

เสียงในภาษาไทยแบ่งออกเป็น ๓ ชนิด ด้วยกัน คือ เสียงสระ เสียงพยัญชนะและเสียงวรรณยุกต์


            - เสียงสระ 
หรือเสียงแท้ เกิดจากลมที่ออกจากปอดโดยไม่ถูกอวัยวะใดกีดขวาง

         - เสียงพยัญชนะ
หรือเสียงแปร เกิดจากการลมที่ออกจากปอดแล้วถูกปิดกั้นทางเดิน ของลมให้แคบลง ทำให้ลมผ่านไม่สะดวกจนต้องเสียดแทรกออกมา

             - เสียงวรรณยุกต์
หรือเสียงดนตรี  เกิดจากเสียงเปล่งออกมาพร้อมเสียงแปรจะมีเสียงสูง ต่ำ ตามการสั่นสะเทือนของสายเสียงอวัยวะที่ทำให้เกิดเสียง ได้แก่ ปอด หลอดลม กล่องเสียง ลิ้นไก่ ลิ้น เพดานปุ่มเหงือก ฟัน และริมฝีปาก

เสียงหนักเบา

        การเน้นเสียงหนักเบาในภาษาไทย มักเนื่องมาจากสาเหตุหลายประการ เช่น 
                ๑. ลักษณะส่วนประกอบของพยางค์
                ๒. ตำแหน่งของพยางค์ในคำ
                ๓. หน้าที่และความหมายของคำ

        ๑. ลักษณะส่วนประกอบของพยางค์ พยางค์ที่ประกอบด้วยสระเสียงยาว และพยางค์ที่มีพยัญชนะสะกด จะออกเสียงเน้น (หนัก) เรียกว่า คำครุ
                ครุ หมายถึง คำที่ออกเสียงหนัก มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
                        ๑. ประสมด้วยสระเสียงยาว
                        ๒. ประสมด้วยสระ อำ ไอ ใอ เอา
                        ๓. มีตัวสะกดในมาตราต่าง ๆ
                ครุ มีเครื่องหมายที่ใช้แทน คือ 
                ลหุ คือ คำที่ออกเสียงเบา มีลักษณะดังนี้
                        ๑. ประสมด้วยสระเสียงสั้น
                        ๒. ไม่มีตัวสะกด
                ลหุ มีเครื่องหมายที่ใช้แทน คือ
        ตัวอย่างแผนภูมิแสดงเสียงหนักเบา

                             มะกอกมะกก                                                      มะค่ามะเขือ

                        ุ        ั        ุ      ั                                                      ุ      ั      ุ      ั

                        มะกล่ำมะเกลือ                                                        มะเฟืองมะไฟ

                      ุ        ั        ุ      ั                                                          ุ        ั         ุ      ั

                        พินิศพนัศ                                                                  ระบัดละใบ

                        ุ      ั     ุ      ั                                                               ุ      ั      ุ      ั

                        เสลาไศล                                                                 ละลิ่วละลาน

                        ุ     ั     ุ      ั                                                           ุ      ั      ุ      ั

        ๒. ตำแหน่งของพยางค์ในคำ ในภาษาไทยคำที่มักออกเสียงหนัก คือ พยางค์สุดท้ายของคำ เช่น พูดบ้าบ้า พูดช้าช้า ถ้าเป็นคำ ๓ พยางค์มักเน้นพยางค์ที่ ๑ กับ หรือถ้าพยางค์ที่ ๒ เป็นสระเสียงยาวหรือพยัญชนะท้ายก็จะออกเสียงหนักด้วย เช่น ปัจจุบันเขาเลิกกิจการไปแล้ว

        ๓. หน้าที่และความหมายของคำ  คำที่ทำหน้าที่เป็นประธาน กริยา กรรม หรือขยายประธาน กริยา กรรม เรามักออกเสียงเน้นหนัก แต่คำที่ทำหน้าที่เชื่อมเราไม่เน้นหนัก
        นอกจากนี้ เราอาจจะเน้นคำบางคำที่ต้องการความสนใจเป็นพิเศษ  เช่น
                น้อยชอบนันท์   ไม่ชอบนุช   น้อยชอบนันท์   ไม่ใช่ฉันชอบ

0 comments:

Post a Comment