Monday, July 8, 2013

เสียงพยัญชนะ

เสียงพยัญชนะ   

       พยัญชนะ แปลว่า การกระทำเสียงให้ปรากฏชัด หรือเครื่องหมายตัวอักษรที่ใช้แทนภาษาพูด พยัญชนะจะออกเสียงตามลำพังไม่ได้ต้องอาศัยสระ

เสียงพยัญชนะในภาษาไทย



        เสียงพยัญชนะในภาษาไทย มี ๒๑ เสียง (๔๔ รูป)
--------------------------------------------------------------------------------------
๑. /ก/  ก                        ๘. /ด/  ด ฎ                     ๑๕. /ฟ/  ฟ ฝ
๒. /ค/  ข ค ฆ (ฃ ฅ)        ๙. /ต/  ต ฏ                       ๑๖. /ม/  ม
๓. /ง/  ง                      ๑๐. /ท/  ท ฐ ถ ฑ ฒ ธ        ๑๗. /ร/  ร
๔. /จ/  จ                        ๑๑. /น/  น ณ                  ๑๘. /ล/  ล ฬ
๕. /ช/  ช ฉ ฌ               ๑๒. /บ/  บ                         ๑๙. /ว/  ว
๖. /ซ/  ซ ศ ส ษ               ๑๓. /ป/  ป                      ๒๐. /ฮ/  ฮ ห
๗. /ย/  ญ ย                        ๑๔. /พ/  ผ พ ภ               ๒๑. /อ/  อ    
---------------------------------------------------------------------------
(บางตำรานับ ๒๐ เสียง ไม่นับเสียง /อ/)

สรุปพยัญชนะที่ไม่ออกเสียง

        ๑. พยัญชนะที่มีเครื่องหมายทัณฑฆาตกำกับ เช่น วิทย์ ศาสน์

        ๒. พยัญชนะซึ่งตามหลังตัวสะกดในบางคำ เช่น พุทธ ภัทร

        ๓. ร หรือ ห ซึ่งนำพยัญชนะตัวสะกดในบางคำ เช่น สามารถ พรหม พราหมณ์

        ๔. ร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอักษรควบไม่แท้ เช่น  จริง เสร็จ โครม  สร้าง โทรม

เสียงวรรณยุกต์ 
        เสียงวรรณยุกต์ คือ เสียงที่เปล่งออกมามีระดับสูงต่ำต่างกัน ทำให้ความหมายต่างกัน ด้วยซึ่งเป็นเสียงที่เกิดกับเสียงสระและเสียงพยัญชนะวรรค วรรณยุกต์ไทย มี ๕ เสียง ๔ รูป คือ
---------------------------------------------------------------------------------------------
เสียง   เสียงสามัญ      เสียงเอก        เสียงโท         เสียงตรี        เสียงจัตวา
-------------------------------------------------------------------------------------------
 รูป           -                            ่                ้                        ๊                     ๋

        ในบางคำรูปกับเสียงวรรณยุกต์อาจไม่ตรงกัน พยัญชนะต้น สระ และตัวสะกดมีความสำคัญต่อการในวรรณยุกต์ไม่น้อยกว่ารูปวรรณยุกต์ ในการเขียนจึงต้องพิจารณาสิ่งเหล่านี้ด้วย จึงจะใช้วรรณยุกต์ได้ถูกต้อง เช่น โน้ต เชิ้ต เสียงตรีแต่ใช้รูปวรรณยุกต์โทเป็นต้น

        ตัวอย่างการผันอักษร    

   ตัวอย่างการผันอักษร                        
-+-----------------------------------------------------------------------                   
    สามัญ                   เอก           โท          ตรี        จัตวา
--------------------------------------------------------------------------
อักษรกลางคำเป็น      กา      ก่า    ก้า    ก๊า    ก๋า
อักษรกลางคำตาย      -      กะ    ก้ะ    ก๊ะ    ก๋ะ
อักษรสูงคำเป็น          -      ข่า    ข้า     -        ขา     
อักษรสูงคำตาย                 -      ขะ       ข้ะ        -        - 
อักษรต่ำคำเป็น            คา             -              ค่า           ค้า         -
อักษรต่ำคำตายสระเสียงสั้น       -    -     ค่ะ    คะ    ค๋ะ  
อักษรต่ำคำตายสระเสียงยาว    -      -     โนต     โน้ต     โน๋ต   
----------------------------------------------------------------------------                   
        จะเห็นได้ว่าอักษรสูงกับอักษรกลางมีเสียงตรงกับรูปเสมอ  แต่อักษรต่ำจะมีเสียงสูงกว่านั้นอีก เว้นแต่เสียงจัตวาเพราะไม่มีเสียงใดสูงกว่านั้นอีก วิธีผันอักษรสูงและอักษรต่ำให้ครบ  ๕ เสียง ทำได้โดยนำอักษรต่ำคู่ที่มีเสียงคู่กับอักษรมาผันคู่กัน เช่น                             
--------------------------------------------------------------------------------------                   
     เสียงสามัญ       เสียงเอก    เสียงโท       เสียงตรี    เสียงจัตวา
---------------------------------------------------------------------------------------
อักษรสูง     -       ข่า      ข้า    -    ขา
อักษรต่ำ (คู่)    คา     -    ค่า    ค้า    -
-+---------------------------------------------------------------------------------------                   
       ส่วนอักษรต่ำเดี่ยวอาจผันให้ครบทั้ง ๕ เสียงใช้อักษรกลางหรือสูงเป็นตัวนำ เช่น                   
                   
                   เสียงสามัญ           เสียงเอก        เสียงโท         เสียงตรี        เสียงจัตวา                   
                   
  อักษรสูง        อยู่                      อยู่                   อยู้             ยู้               ยู๋                   
                   
  อักษรต่ำ (คู่)     นี                     หนี่                   หนี้             นี้              หนี                   

เสียงสระ


ฐานที่เกิดเสียงสระ
        เสียงสระ เกิดขึ้นโดยอาศัยคอเป็นที่ตั้ง และริมฝีปากหรือลิ้นกระทบอวัยวะในปากเป็นเครื่องช่วย ลิ้นที่ทำให้เกิดเสียงมีอยู่ ๓ ส่วน คือ ลิ้นส่วนหน้า ส่วนกลาง ส่วนหลังลิ้นแต่ละส่วนก็ยังสามารถกระดกขึ้นลงได้ ๓ ระดับ  คือ สูง กลาง ต่ำ ถ้าลิ้นกระดกระดับต่าง ๆ เสียงสระที่เกิดขึ้นก็จะต่างกันไปด้วย จากตารางต่อไปนี้แสดงให้เห็นส่วนของลิ้นที่ทำให้เกิดสระ


 
-----------------------------------------------------------------------------------------
 ระดับลิ้น                ลิ้นส่วนหน้า                  ลิ้นส่วนกลาง         ลิ้นส่วนหลัง   
------------------------------------------------------------------------------------------------
  สูง                    อิ       อี                        อึ       อือ                      อุ        อู

กลาง                 เอะ      เอ                      เออะ      เออ               โอะ       โอ

ต่ำ                     แอะ     แอ                      อะ       อา                      เอาะ      ออ 
-----------------------------------------------------------------------------------------------------   
รูปสระ
        สระไทย ๒๑ รูป ดังนี้
๑.     ะ  วิสรรชนีย์     ๘.     "   ฟันหนู       ๑๕.   อ       ตัวออ
๒.      ั  ไม้ผัดหรือไม้หันอากาศ     ๙.      ุ   ตีนเหยียด       ๑๖.   ย       ตัวยอ
๓.      ็  ไม้ไต่คู้     ๑๐.    ู   ตีนคู้     ๑๗.  ว        ตัววอ
๔.    ๆ   ลากข้าง          ๑๑    เ      ไม้หน้า     ๑๘.  ฤ       ตัวร
๕.      ิ   พินท์อิ     ๑๒.   ใ       ไม้ม้วน     ๑๙.  ฤา     ตัวรือ
๖.      ่   ฝนทอง        ๑๓.   ไ       ไม้มลาย     ๒๐.  ฦ       ตัวลึ
๗.      ํ   นฤคหิต (หยดน้ำค้าง)     ๑๔.   โ       ไม้โอ     ๒๑. ฦา      ตัว ลือ    

เสียงสระ       
        เสียงสระในภาษาไทยมี ๒๔ เสียงจำแนกเป็นเสียงเดี่ยวหรือสระแท้ ๑๘ เสียงสระเลื่อน ๖ เสียง
                ๑. สระเดี่ยว หรือสระแท้ มี ๑๘ เสียง ซึ่งมีเสียงสั้นเสียงยาว ๙ คู่ ดังนี้
                        รัสสระ (สระเสียงสั้น)                   ทีฆสระ (สระเสียงยาว)
                           อะ                                                        อา
                           อิ                                                          อี   
                           อี                                                          อื     
                           อุ                                                          อู  
                           เอะ                                                       เอ 
                           แอะ                                                      แอ 
                           โอะ                                                      โอ 
                          เอาะ                                                      ออ 
                          เออะ                                                     เออ
                ๒. สระเลื่อน หรือสระประสม ในภาษาไทยมี ๖ เสียง คือสระที่มีการเลื่อนระดับของลิ้นจากเสียงหนึ่งไปยังเสียงหนึ่ง
ได้แก่
รัสสระ (สระเสียงสั้น)           ทีฆสระ (สระเสียงยาว)
                                เอียะ (อิ -> อะ)                เอีย (อี -> อา)
                                เอือะ (อื -> อะ)                เอือ (อื -> อา)
                                อัวะ (อุ -> อะ)                 อัว (อู -> อา)
        คำที่มีสระเลื่อนเสียงสั้นมีเพียงไม่กี่คำที่ยืมมาจากภาษาอื่น เช่น เกี๊ยะ  เปรี๊ยะ เบื๊อก เอื๊อก ผัวะ ยัวะ ด้วยเหตุนี้นักภาษาศาสตร์บางคนจึงถือว่าภาษาไทยมีสระเลื่อนเพียง ๓ เสียง คือ /เอีย/ /เอือ/ /อัว/ข้อพิจารณาเกี่ยวกับเสียงสระ

        ๑. สระบางเสียงใช้อักษรแทนได้หลายรูป เช่น  คำว่า "ไน" อาจเขียนว่า"นัย" หรือ "ใน" คำว่า "กำ" อาจเขียนว่า "กรรม"
        ๒. ในบางคำรูปสระบางรูปไม่ออกเสียง เช่นคำว่า ญาติ  ประวัติ ในคำว่าเหตุธาตุ
        ๓. ในบางคำมีเสียงสระ /อะ/ แต่ไม่ปรากฏรูป  เช่น สบาย ตลาด หวายอร่อย
        ๔. ไม้ไต่คู้   ใช้แสดงเสียงสั้นแต่คำบางคำเสียงสั้นก็ไม่นิยมใช้ไม้ไต่คู้   เช่น  เพชร เบญจ
        ๕. ภาษาไทยมีรูปสระวางไว้หลายตำแหน่ง

                วางไว้ข้างหน้าพยัญชนะ    เช่น สระ เ-  แ-  ใ-
                วางไว้ข้างหลังพยัญชนะ    เช่น สระ -า
                วางไว้ข้างบนพยัญชนะ     เช่น สระ  -ิ  -ี
                วางไว้ข้างล่างพยัญชนะ    เช่น สระ  -ุ  -ู
                วางไว้ข้างหน้าและข้างหลัง เช่น สระ เ-า
                วางไว้ข้างหน้าและข้างบน  เช่น สระ เ-ีย

        ๖. การใช้สระ มี ๓ ลักษณะ คือ 
                ๑. สระคงรูป    เช่น ใน เสา มี
                ๒. สระลดรูป    เช่น ตก
                ๓. สระเปลี่ยนรูป เช่น มัน เห็น


เสียงในภาษาไทย

     เสียง    

      เสียงในความหมายกว้าง ๆ หมายถึง เสียงต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเสียงมนุษย์เสียงสัตว์ หรือเสียงอื่นใดก็ตาม แต่ในการศึกษา เสียง หมายถึง เสียงที่มนุษย์เปล่งออกมาเพื่อสื่อความหมายระหว่างมนุษย์ด้วยกัน

เสียงในภาษาไทย

เสียงในภาษาไทยแบ่งออกเป็น ๓ ชนิด ด้วยกัน คือ เสียงสระ เสียงพยัญชนะและเสียงวรรณยุกต์


            - เสียงสระ 
หรือเสียงแท้ เกิดจากลมที่ออกจากปอดโดยไม่ถูกอวัยวะใดกีดขวาง

         - เสียงพยัญชนะ
หรือเสียงแปร เกิดจากการลมที่ออกจากปอดแล้วถูกปิดกั้นทางเดิน ของลมให้แคบลง ทำให้ลมผ่านไม่สะดวกจนต้องเสียดแทรกออกมา

             - เสียงวรรณยุกต์
หรือเสียงดนตรี  เกิดจากเสียงเปล่งออกมาพร้อมเสียงแปรจะมีเสียงสูง ต่ำ ตามการสั่นสะเทือนของสายเสียงอวัยวะที่ทำให้เกิดเสียง ได้แก่ ปอด หลอดลม กล่องเสียง ลิ้นไก่ ลิ้น เพดานปุ่มเหงือก ฟัน และริมฝีปาก

เสียงหนักเบา

        การเน้นเสียงหนักเบาในภาษาไทย มักเนื่องมาจากสาเหตุหลายประการ เช่น 
                ๑. ลักษณะส่วนประกอบของพยางค์
                ๒. ตำแหน่งของพยางค์ในคำ
                ๓. หน้าที่และความหมายของคำ

        ๑. ลักษณะส่วนประกอบของพยางค์ พยางค์ที่ประกอบด้วยสระเสียงยาว และพยางค์ที่มีพยัญชนะสะกด จะออกเสียงเน้น (หนัก) เรียกว่า คำครุ
                ครุ หมายถึง คำที่ออกเสียงหนัก มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
                        ๑. ประสมด้วยสระเสียงยาว
                        ๒. ประสมด้วยสระ อำ ไอ ใอ เอา
                        ๓. มีตัวสะกดในมาตราต่าง ๆ
                ครุ มีเครื่องหมายที่ใช้แทน คือ 
                ลหุ คือ คำที่ออกเสียงเบา มีลักษณะดังนี้
                        ๑. ประสมด้วยสระเสียงสั้น
                        ๒. ไม่มีตัวสะกด
                ลหุ มีเครื่องหมายที่ใช้แทน คือ
        ตัวอย่างแผนภูมิแสดงเสียงหนักเบา

                             มะกอกมะกก                                                      มะค่ามะเขือ

                        ุ        ั        ุ      ั                                                      ุ      ั      ุ      ั

                        มะกล่ำมะเกลือ                                                        มะเฟืองมะไฟ

                      ุ        ั        ุ      ั                                                          ุ        ั         ุ      ั

                        พินิศพนัศ                                                                  ระบัดละใบ

                        ุ      ั     ุ      ั                                                               ุ      ั      ุ      ั

                        เสลาไศล                                                                 ละลิ่วละลาน

                        ุ     ั     ุ      ั                                                           ุ      ั      ุ      ั

        ๒. ตำแหน่งของพยางค์ในคำ ในภาษาไทยคำที่มักออกเสียงหนัก คือ พยางค์สุดท้ายของคำ เช่น พูดบ้าบ้า พูดช้าช้า ถ้าเป็นคำ ๓ พยางค์มักเน้นพยางค์ที่ ๑ กับ หรือถ้าพยางค์ที่ ๒ เป็นสระเสียงยาวหรือพยัญชนะท้ายก็จะออกเสียงหนักด้วย เช่น ปัจจุบันเขาเลิกกิจการไปแล้ว

        ๓. หน้าที่และความหมายของคำ  คำที่ทำหน้าที่เป็นประธาน กริยา กรรม หรือขยายประธาน กริยา กรรม เรามักออกเสียงเน้นหนัก แต่คำที่ทำหน้าที่เชื่อมเราไม่เน้นหนัก
        นอกจากนี้ เราอาจจะเน้นคำบางคำที่ต้องการความสนใจเป็นพิเศษ  เช่น
                น้อยชอบนันท์   ไม่ชอบนุช   น้อยชอบนันท์   ไม่ใช่ฉันชอบ

Sunday, July 7, 2013

วันที่ ๒๙ กรกฎาคม ของทุกปีเป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ

ความเป็นมา   


         คณะกรรมการรณรงค์เพื่อภาษาไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ตระหนักในคุณค่าและความสำคัญของภาษาไทย และมีความห่วงใยในปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นต่อภาษาไทย และเพื่อกระตุ้นและปลุกจิตสำนึกให้คนไทยทั้งชาติ ได้ตระหนักถึงคุณค่าและ ความสำคัญของภาษาไทย ตลอดจนร่วมมือกันทำนุบำรุง ส่งเสริม และอนุรักษ์ภาษาไทยให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป จึงได้เสนอขอให้รัฐบาล
ประกาศให้วันที่ ๒๙ กรกฎาคม ของทุกปี เป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ เช่นเดียวกับวันสำคัญอื่นๆ ที่รัฐบาลได้จัดให้มีมาก่อนแล้ว เช่น “วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ” และ “วันสื่อสารแห่งชาติ” เป็นต้น และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันอังคารที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๔๒ เห็นชอบให้วันที่ ๒๙ กรกฎาคม ของทุกปีเป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ

ทำไมต้องกำหนดวันที่ 29 กรฎาคม เป็น "วันภาษาไทยแห่งชาติ"
  
      เพราะวันดังกล่าว ตรงกับวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนิน ไปเป็นประธานและทรงร่วมอภิปรายในการประชุมทางวิชาการของชุมนุมภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ ห้องประชุมคณะอักษรศาสตร์ เมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๐๕ ทรงเปิดการอภิปรายในหัวข้อ “ปัญหาการใช้คำไทย” ทรงดำเนินการอภิปรายและทรงสรุปการอภิปราย อย่างดีเยี่ยม แสดงถึงพระปรีชาสามารถและความสนพระราชหฤทัยและ ความห่วงใยในภาษาไทย เป็นที่ประทับใจผู้เข้าร่วมการประชุมในครั้งนั้น เป็นอย่างยิ่ง นับเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวในประวัติศาสตร์ของวงการ ภาษาไทย ที่ได้รับพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณดังกล่าว และในโอกาสต่อๆ มา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังได้ทรงแสดงความสนพระราชหฤทัยและ ความห่วงใยในภาษาไทยอีกหลายโอกาส เช่น ได้พระราชทานพระราชดำรัส เกี่ยวกับปัญหาในการใช้ภาษาไทยของประชาชนชาวไทยในปัจจุบัน ในวโรกาสที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ข้าราชการและองค์กรเอกชนเข้าเฝ้า ถวายชัยมงคล เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา พุทธศักราช ๒๕๓๕ นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงย้ำให้ประชาชนชาวไทยตระหนัก ถึงความสำคัญของภาษาไทยและพระราชทานแนวความคิดในการอนุรักษ์ภาษาไทย ในโอกาสต่างๆ อยู่เสมอ ที่สำคัญยิ่งกว่านี้ คือ เป็นที่ประจักษ์ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระปรีชาญาณและพระอัจฉริยภาพในการ ใช้ภาษาไทยทรงรอบรู้ปราดเปรื่องถึงรากศัพท์ของคำไทย คือ ภาษาบาลีและ สันสกฤต ทรงพระอุตสาหะวิริยะแปลและเรียบเรียงวรรณกรรมภาษาต่างประเทศ เป็นภาษาไทย ที่สมบูรณ์ด้วยลักษณะวรรณศิลป์ มีเนื้อหาสาระที่มีคุณค่าเป็นคติ ในการเสียสละเพื่อส่วนรวม และเป็นแบบอย่างแก่ประชาชนในการใช้ภาษาไทย ดังจะเห็นได้จากพระราชนิพนธ์แปลเรื่องนายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ ติโต พระราชนิพนธ์ แปลบทความเรื่องสั้นๆ หลายบท และพระราชนิพนธ์ เรื่อง พระมหาชนก นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อมที่สุดมิได้แก่วงการ

วัตถุประสงค์   

๑.   เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
ผู้ทรงเป็นนักปราชญ์และนักภาษาไทยรวมทั้งเพื่อน้อมรำลึกใน
พระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่ได้ทรงแสดงความห่วงใยและพระราชทาน
แนวคิดต่างๆ เกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย

๒.   เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในมหามงคล
สมัยเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒

๓.   เพื่อกระตุ้นและปลุกจิตสำนึกของคนไทยทั้งชาติให้ตระหนักถึง
ความสำคัญและคุณค่าของภาษาไทย ตลอดจนร่วมมือร่วมใจกันทำนุบำรุง
ส่งเสริม และอนุรักษ์ภาษาไทย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์และเป็นสมบัติวัฒนธรรม
อันล้ำค่าของชาติให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป

๔.   เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการใช้ภาษาไทย ทั้งในวงวิชาการและวิชาชีพ รวมทั้งเพื่อยกมาตรฐานการเรียนการสอนภาษาไทยในสถานศึกษาทุกระดับ
ให้มีสัมฤทธิผลยิ่งขึ้น

๕.   เพื่อเปิดโอกาสให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชนทั่วประเทศ
มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อเผยแพร่ความรู้ภาษาไทยใน
รูปแบบต่างๆ ไปสู่สาธารณชนทั้งในฐานะที่เป็นภาษาประจำชาติและ
ในฐานะที่เป็นภาษาเพื่อการสื่อสารของทุกคนในชาติ
    
 ประโยชน์   

ประโยชน์ที่ได้รับจากการมีวันภาษาไทยแห่งชาติ คาดว่าจะมีผลดีสืบเนื่องหลายประการ คือ

๑.   การมี “วันภาษาไทยแห่งชาติ” จะทำให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานในกระทรวงศึกษาธิการ และทบวงมหาวิทยาลัย ตระหนักในความสำคัญของภาษาไทย และร่วมกันจัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นเตือน เผยแพร่ และเน้นย้ำให้ประชาชนเห็นความสำคัญของ “ภาษาประจำชาติ” ของคนไทยทุกคน และร่วมมือกันอนุรักษ์การใช้ภาษาไทยให้มีความถูกต้องงดงามอยู่เสมอ

๒.   บุคคลในวงวิชาชีพต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ภาษาไทย โดยเฉพาะในวงการศึกษา และวงการสื่อสาร ช่วยกันกวดขันดูแลให้การใช้ภาษาไทยเป็นไปอย่างถูกต้อง เหมาะสม มิให้ผันแปรเปลี่ยนแปลง จนเกิดความเสียหายแก่คุณลักษณะของภาษาไทยอันเป็นเอกลักษณ์ของชาติ

๓.   ผลสืบเนื่องในระยะยาว คาดว่าปวงชนชาวไทยทั่วประเทศจะตื่นตัวและสนใจที่จะร่วมกันฟื้นฟู ทำนุบำรุง ส่งเสริมและอนุรักษ์ภาษาไทย อันเป็นเอกลักษณ์และสมบัติวัฒนธรรมที่สำคัญของชาติให้ดำรงคงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป


Saturday, June 15, 2013

คำนาม + คำสรรพนาม+ คำกริยา

คำนาม หมายถึง คำที่ใช้เรียกชื่อคน  สัตว์ พืช  สิ่งของ  สภาพ  ลักษณะ   แบ่งออกเป็นชนิดย่อยได้ ๕ ชนิด
http://www.sahavicha.com/UserFiles/Image/imagesCAC1MVO6.jpg
๑. คำนามสามัญ (สามานยนาม)  เป็นคำที่ใช้เรียกชื่อทั่วไป   เช่น  คน  แมว   ปู  เสือ  ปลา  หอย  เป็ด  ไก่  นก  ฯลฯ

๒. คำชื่อเฉพาะ (วิสามานยนาม)  เป็นชื่อเฉพาะของคน  สัตว์  พืช  สิ่ง ของ  สถานที่   เช่น  พิษณุโลก  พรหมพิรามวิทยา  ไอ้ตูบ  เจ้าด่าง   พิชัย   นายสิทธิศักดิ์  เป็นต้น

๓. คำนามรวมหมู่ (สมุหนาม)  เป็นนามที่ใช้เรียกนามซึ่งอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เป็นหมวดหมู่  เช่น  กอง  กลุ่ม  หมู่  ฝูง  โขลง  พวก  พรรค  วง  ฯลฯ

๔. คำนิยมธรรม ( อาการนาม)  คือคำนามที่ใช้ “การ” หรือ “ความ” นำหน้าคำกริยา และใช้ “ความ” นำหน้าคำวิเศษณ์  เช่น  การเดิน  การนอน  การวิ่ง  การเกิด  ความรัก  ความตาย   ความคิด  ความดี  ความรู้  ฯลฯ

๕. คำลักษณนาม  เป็นคำบอกลักษณะของนาม   แบ่งย่อยได้  ๖ ชนิด  ดังนี้

            ๕.๑ ลักษณนามบอกชนิด   เช่น  รูป  ใช้ กับ ภิกษุ  สามเณร

เล่ม  ใช้กับ    หนังสือ  เกวียน  เทียน  เข็ม  ตะไกร

ใบ     ใช้กับ   ตู้  หม้อ  ตุ่ม  หมอน

            ๕.๒ ลักษณนามบอกหมวดหมู่   เช่น

                                    ฝูง    ใช้กับ  วัว  ควาย  ปลา  นก

                                    กอง  ใช้กับ  ทหาร  ลูกเสือ  อิฐ  ทราย  ผ้าป่า

                                    นิกาย  ใช้กับ  ศาสนา  ลัทธิ

                        ๕.๓ ลักษณนามบอกสัณฐาน   เช่น

                                    วง   ใช้กับ  แหวน   วงกลม  ตะกร้อ  สักวา   วงดนตรี   แตรวง

                                    หลัง  ใช้กับ  เรือน  มุ้ง  ตึก

                                    แผ่น  ใช้กับ  กระดาษ  กระดาน  กระเบื้อง  สังกะสี

                                    บาน   ใช้กับ  ประตู   หน้าต่าง  กระจกเงา  กรอบรูป

                        ๕.๔  ลักษณนามบอกจำนวนและมาตรา   เช่น

                                    คู่   ใช้กับ  รองเท้า  ถุงเท้า  ช้อนส้อม

                                    โหล  ใช้กับ  ของที่รวมกันจำนวน  ๑๒ ชิ้น  เช่น  สมุด  ดินสอ  ปากกา

                        ๕.๕  ลักษณนามบอกอาการ   เช่น

                                    จีบ      ใช้กับ   พลู

                                    จับ       ใช้กับ  ขนมจีน

                                    มวน    ใช้กับ   บุหรี่

                        ๕.๖  ลักษณนามซ้ำชื่อ    เช่น

                                    เมือง   ประเทศ    ตำบล   จังหวัด   ทวีป   ฯลฯ


คำสรรพนาม
          คำสรรพนาม  เป็นคำที่ใช้แทนคำนาม เพื่อไม่ต้องใช้ชื่อซ้ำ หรือไม่ต้องการเรียกชื่อ
นั้นโดยตรง    คำสรรพนาม  แบ่งย่อยได้  ๗  ชนิด   ดังนี้

            ๑. สรรพนามแทนบุคคล  (บุรุษสรรพนาม)  เป็นคำที่ใช้แทนคำพูด  เช่น  ผม  ฉัน  ดิฉัน  เรา   หรือคำที่ใช้แทนผู้ฟัง  เช่น  เธอ  ท่าน  คุณ   และคำที่ใช้แทนบุคคลหรือสิ่งที่เรากล่าวถึง เช่น มัน   แก  เขา  ท่าน  เป็นต้น

            ๒. สรรพนามใช้ชี้ระยะ (นิยมสรรพนาม)  เป็นคำที่ใช้แทนนามที่อยู่ใกล้  ได้แก่  นี่  นี้  ถ้าห่างออกไป จะใช้ นั่น  นั้น  และถ้าห่างที่สุดจะใช้  โน่น  โน้น  นู่น  นู้น   เป็นต้น   ตัวอย่างเช่น

                        นั่นเป็นรถของคุณพ่อ              

ฉันชอบอยู่ที่นี่มากกว่าที่โน่น

            ๓. สรรพนามใช้ถาม (ปฤจฉาสรรพนาม)  เป็นสรรพนามที่ใช้ถาม  ได้แก่  ใคร  อะไร  ไหน    เช่น                           ใครจะไปบ้าง    

 อะไรอยู่ในตู้     

 ไหนของฉัน                         

            ๔.  สรรพนามบอกความไม่เจาะจง (อนิยมสรรพนาม)  เป็นสรรพนามที่ไม่ชี้เฉพาะ  ได้แก่   ใคร  อะไร    ซึ่งมีรูปซ้ำกับสรรพนามใช้ถาม  แต่ความหมายจะแสดงความไม่แน่นอน  ไม่ได้ใช้ถามบางครั้งจะใช้คำซ้ำ  เช่น  ใดๆ  ใครๆ   อะไรๆ    ตัวอย่าง

                        ใดๆ ในโลกล้วนอนิจจัง

                        อะไรๆ ฉันก็กินได้

                        ใครๆ ก็ชอบคนเก่ง

            ๕. สรรพนามบอกความชี้ซ้ำ  แบ่งพวก หรือรวมพวก (วิภาคสรรพนาม)  เป็นคำแทนนามข้างหน้า  เพื่อให้รู้ว่านามนั้นแยกได้เป็นส่วนๆ  เช่นเดียวกัน  แต่ทำกริยาโต้ตอบซึ่งกันและกันอยู่หรือเกี่ยวข้องกัน  เช่น  ทหารยิงกัน  ผัวเมียตีกัน  เขารักซึ่งกันและกัน  นักเรียนบ้างก็เล่นบ้างก็เรียน

            ๖. ประพันธ์สรรพนาม  เป็นคำสรรพนามที่ใช้เป็นบทเชื่อมข้อความหรือประโยคที่เกี่ยวกับนามที่อยู่ข้างหน้า  มีอยู่ ๓ คำ  คือ   ที่   ซึ่ง   อัน   ตัวอย่าง

                        เขาตีแมวที่กินปลาย่าง

                        หล่อนรับประทานอาหารซึ่งแม่ปรุงให้

                        แป้งหอมตรามดแดงช่วยถนอมผิวอันบอบบางของทารก

            ๗. สรรพนามที่ใช้แทนนามที่อยู่ข้างหน้า   เช่น

                        คุณนายเธออยากจะมีงานมากขึ้น

                        นายแสวงเขาคงจะเรียนไม่จบ

                        คุณครูท่านชอบคุยเรื่องส่วนตัว

         คำกริยา

            คำกริยาเป็นคำแสดงอาการหรือบอกสภาพของนาม หรือสรรพนามที่เป็นประธานของประโยค  เช่น

                        คนไทยกินข้าวทุกวัน    : คนไทยเป็นนามที่ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค

                                                                          กินข้าวทุกวัน  แสดงอาการหรือสภาพให้ผู้อื่นรู้

คำกริยามี  ๔  ชนิด  ดังนี้คือ

            ๑. อกรรมกริยา  เป็นกริยาที่ไม่ต้องมีกรรมมารับ    เช่น

                        หน้าต่างเปิด

                        หล่อนเดิน

                        เขาร้องเพลง

            ๒. สกรรมกริยา   เป็นกริยาที่ต้องมีกรรมมารับ   เช่น

                        นักเรียนปิดประตู                        เขาดื่มกาแฟทุกวัน

            ๓. กริยาอาศัย ส่วนเติมเต็ม  (วิกตรรถกริยา)  เป็นคำกริยาที่ต้องมีคำมาประกอบเพื่อให้ได้ความสมบูรณ์  แต่คำที่ตามมานั้นไม่ใช่กรรม  คำกริยาชุดนี้ได้แก่  เป็น  เหมือน  คือ  คล้าย  เช่น

                                    คนซื่อสัตย์คือผู้มีเกียรติ

                                    คนขยันอ่านหนังสือเป็นคนฉลาด

                                    เธอเหมือนดาราภาพยนตร์

                                    เขาคล้ายพ่อ

            ๔. กริยาช่วย (กริยานุเคราะห์)   เป็นกริยาที่ใช้ประกอบหรือช่วยกริยาหลักของประโยค อาจประกอบข้างหน้าหรือข้างหลังก็ได้    ตัวอย่าง

                                    นักเรียนถูกเฆี่ยน

                                    เขาต้องมาที่นี่

                                    ฉันเคยไปแล้ว

                                    ท่านเพิ่งจะเดินทางกลับมาจากต่างจังหวัด

คำวิเศษณ์

 คำวิเศษณ์  เป็นคำที่ใช้ขยายคำนาม  สรรพนาม   กริยา  หรือวิเศษณ์  เพื่อบอกเวลา  สถานที่  จำนวน  หรือลักษณะต่าง ๆ   คำวิเศษณ์จำแนกได้เป็น ๙  ชนิดดังนี้
http://www.naaruk.com/wp-content/uploads/2013/04/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B9%8C.jpg
            ๑. คำวิเศษณ์บอกลักษณะ (ลักษณวิเศษณ์)  ได้แก่คำขยายที่บอกชนิด  ขนาด  สัณฐาน  สี กลิ่น  รส  สัมผัส  อาการ  ความรู้สึก   เช่น  เล็ก  ใหญ่  กลม  รี  แบน  ขาว  แดง  เหม็น  หอม  หวานเปรี้ยว  อ่อน  แข็ง  เร็ว  ช้า  ค่อย  แหบ  ดัง   เป็นต้น     ตัวอย่างเช่น

                        คนดีย่อมมีความกตัญญูต่อพ่อแม่

                        ม้าวิ่งเร็ว

                        เขาพูดเพราะ

                        ลมพัดแรง

            ๒. คำวิเศษณ์บอกเวลา (กาลวิเศษณ์)  เป็นคำขยายบอกเวลา ที่เกิดขึ้นแล้ว  หรือปัจจุบัน  เช่น  ก่อน  หลัง  เดี๋ยวนี้  ภายหลัง  หรือขยายบอกเวลาว่า  เช้า  สาย  บ่าย  เย็น  ค่ำ    ตัวอย่าง

                        เขามาโรงเรียนสาย

                        เราจะไปเดี๋ยวนี้

                        ฉันจะไปพบเธอเวลาเย็น

                        บริษัทจะส่งหนังสือมาภายหลัง

            ๓. คำวิเศษณ์บอกสถานที่ (สถานวิเศษณ์)  เป็นคำขยายแสดงที่อยู่หรือระยะที่ตั้งอยู่  เช่น  เหนือ  ใต้  ไกล  ใกล้    เป็นต้น   ตัวอย่างเช่น

                        เขาอยู่ไกล

                        เด็กๆ จะไปบ้านนอก

                        หล่อนอยู่เหนือ

            ๔. คำวิเศษณ์บอกปริมาณหรือจำนวน (ประมาณวิเศษณ์)  เป็นคำประกอบบอกจำนวน หรือ จำนวนนับ  เช่น  มาก  น้อย  หนึ่ง  สอง  ที่ห้า  อันดับสิบ   เป็นต้น  ตัวอย่าง

                        เขากินข้าวหมด

                        คนงานกินจุ

                        นักเรียนจะมาพบห้าคน

                        คนทั้งหลายเดือดร้อนเพราะน้ำท่วม

            ๕. คำวิเศษณ์บอกความชี้เฉพาะ (นิยมวิเศษณ์)  เป็นคำขยายบอกความแน่นอน  เช่น  นี่  นี้  นั่น  นั้น  โน่น  โน้น  เป็นต้น  ตัวอย่าง

                        ชายคนนั้นเป็นชาวไทย

                        เขาสอบตกแน่นอน

                        หล่อนต้องมาหาเราแน่

                        ฉันเองเป็นคนทำ

            ๖. คำวิเศษณ์บอกความไม่ชี้เฉพาะ (อนิยมวิเศษณ์)  เป็นคำประกอบที่แสดงความไม่แน่นอน  เช่น  อื่น  อื่นๆ  ใด  ใดๆ  อะไร  อะไรๆ  เป็นต้น  ตัวอย่าง

                        เด็กอะไรซนอย่างนี้

                        วิชาอื่นๆ ก็สู้วิชานี้ไม่ได้

                        ถึงจะแพงสักเท่าไร ฉันก็จะซื้อ

            ๗. คำวิเศษณ์แสดงคำถาม (ปฤจฉาวิเศษณ์)  เป็นคำที่ใช้ถาม  เช่น  อะไร  ใคร  ไหน  ทำไม  แต่คำเหล่านี้จะตามหลังคำนาม  สรรพนาม หรือกริยา  ตัวอย่าง

                        คนไหนเป็นนักเรียนทุน

                        คนไข้มีอาการอย่างไร

                        เธออายุเท่าไหร่

            ๘. คำวิเศษณ์แสดงคำขานรับ (ประติชญาวิเศษณ์)  เป็นคำขานรับหรือคำประกอบใช้แสดงการขานรับ  เช่น  ค่ะ  ครับ  จ๊ะ  จ๋า  ฯลฯ    ตัวอย่าง

                        คุณครับ รถไฟจะออกแล้ว

                        คุณแม่ขา  โทรศัพท์ค่ะ

                        เธอจะไปไหนจ๊ะ

            ๙. คำวิเศษณ์แสดงความปฏิเสธ (ประติเษธวิเศษณ์)  เป็นคำบอกห้าม หรือบอกปฏิเสธ  เช่น  ไม่  หาไม่  เปล่า  อย่า  เป็นต้น   ตัวอย่าง

                        เงินทองไม่ใช่ของหาง่าย

                        นักเรียนไม่ควรนั่งหลับในห้องเรียน

                        เธออย่าเล่าเรื่องนี้ให้เขาฟังนะ

คำซ้ำ + คำสมาส


คำซ้ำ คือการนำคำมูลที่เหมือนกันทั้งรูป เสียง และความหมายมาซ้ำโดยเปลี่ยนคำที่สองเป็นไม้ยมก เช่น เร็ว ๆ  หรือเปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์ของคำแรกเป็นเสียงตรี เช่น ซ้วยสวย  ดี๊ดี จุดประสงค์ของคำซ้ำคือ
http://www.myfirstbrain.com/thaidata/image.asp?ID=1516129
๑.เพื่อให้มีความหมายเป็นพหูพจน์    น้อง ๆ เล่นตุ๊กตา  เด็กๆ มาโรงเรียน

๒.เพื่อให้มีความหมายว่ากระทำสิ่งนั้นซ้ำ ๆ หรือต่อเนื่องกัน หรือทำอย่างไม่ตั้งใจ เช่น

เขาบ่น ๆ อยู่ว่าเบื่อ                  หมายความว่า บ่นหลายครั้ง

เขาเขี่ย ๆ เพื่อให้เสร็จ               หมายความว่าไม่ตั้งใจทำ

๓.เพื่อให้มีความหมายว่าอยู่พวกใด เช่น

คนสูง ๆ มักอยู่หัวแถว

๔.เพื่อเน้นความหมายว่ามีสภาพหรืออาการนั้นอยู่มาก เช่น

วันนี้อากาศดี๊ดี

เธอเป็นคนเรียนเก๊งเก่ง

๕.เพื่อให้เป็นคำสั่ง  เช่น

ทำงานเร็ว ๆเข้า

๖.เพื่อให้มีความหมายใหม่  เช่น

เขาทำงานส่ง ๆ

ไป ๆ มา ๆ เขาก็ลืมทำงาน
--------------------------------------------------
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhRyIkEKz8lxgJX6y208rz8lPqjZzU7fLJbPx99fG4q0eFN6TYRulOgFjZsGpT9JT85zxPFhyj5bBXAfHuKexaM2pr9K8j6bUxi1DUzlfFaXdkV16anchemv95a5XPA7vB9NVy-dlmPMMGK/s320/%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%AA.gif
คำสมาส

คำสมาส คือ การนำคำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤตมารวมกับคำบาลีสันสกฤตแล้วเกิดความหมายใหม่  แต่ยังคงเค้าความหมายเดิมมีลักษณะดังนี้

๑.เป็นคำที่มีรากศัพท์มาจากบา และสันสกฤตเท่านั้น เช่น สุขศึกษา

อักษรศาสตร์  สังคมศาสตร์  อุดมศึกษา

            ๒.อ่านออกเสียงสระระหว่างคำที่สมาสกัน  เช่น

            รัฐ + ศาสตร์ = รัฐศาสตร์ อ่าน            รัด – ถะ – สาด

            ภูมิ + ทัศน์   =  ภูมิทัศน์     อ่าน            พูม – มิ – ทัด

            พืช + มงคล  =  พืชมงคล   อ่าน            พืด – ชะ - มง – คน

            ๓.แปลจากหลังมาหน้า  เช่น

            ราชโอรส    หมายถึง        ลูกชายพระราชา

            กาฬพักตร์   หมายถึง        หน้าดำ

            วรรณคดี       หมายถึง        เรื่องราวของหนังสือ

            ๔.พยางค์สุดท้ายของคำหน้าที่มีเครื่องหมายทัณฑฆาต  (    )เมื่อนำมาสมาสให้ตัดทิ้งแล้วอ่านออกเสียง “อะ”กึ่งเสียง เช่น       

สิทธิ์ + บัตร                 เป็น            สิทธิบัตร

ไปรษณีย์ + บัตร            เป็น            ไปรษณียบัตร

สวัสดิ์ + ภาพ             เป็น            สวัสดิภาพ

สัตว์ + ศาสตร์             เป็น            สัตวศาสตร์

๕.คำว่า “พระ”  (แผลงมาจาก “วร”) นำหน้าคำที่มาจากบาลีสันสกฤต เช่น

พระสงฆ์     พระเนตร    พระบาท     พระราชวงศ์

คำสันธาน

http://englishka.wikispaces.com/file/view/Conjunctions%20(%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%99).jpg/365642754/400x193/Conjunctions%20(%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%99).jpg

คำสันธาน เป็นคำที่ใช้ต่อ หรือเชื่อมคำ  ข้อความ  หรือประโยคให้ต่อเนื่องกัน

            ลักษณะการต่อหรือเชื่อมมี ดังนี้
            ๑. ต่อคำ ต่อความ หรือประโยคที่เวลาต่อเนื่อง เป็นเหตุเป็นผลกัน หรือไปในทางเดียวกันไม่ขัดแย้งกัน   ตัวอย่าง
                        พอถึงบ้านฝนก็ตก
                        เขาจองบัตรล่วงหน้าจึงได้ที่นั่งในร่ม
                        พอจับหนูเสร็จฝ้ายก็วิ่งกลับมานั่งเฝ้านก
                        เขาไม่คบเพื่อนเพราะไม่ชอบเกี่ยวข้องกับใคร
                        น้อยกับอ้อยรับประทานอาหารด้วยกัน
            ๒. ต่อคำ ต่อความ หรือประโยคที่ข้อความขัดแย้งกัน  ตัวอย่าง
                        พ่ออยากจะไปงานเลี้ยงแต่แม่ไม่ให้ไป
                        เขานั่งอ่านหนังสือแทนที่จะไปเล่นกับเพื่อน
                        ทุกคนอ่านหนังสือนอกจากเธอ
                        ต๋อยทำแบบฝึกหัดแต่ต้อยนั่งหลับ
            ๓. ต่อคำ ต่อความ หรือประโยคที่ข้อความให้เลือกเอง  คาดคะเน  หรือแบ่งรับแบ่งสู้  เช่น
                        เธอต้องการอันไหน  ใหญ่หรือเล็ก
                        ถ้าเธอไม่ไป ฉันก็ไม่ไป
            ๔. ต่อความให้ได้เนื้อความบริบูรณ์ และได้ความไพเราะ   ตัวอย่าง
                        อนึ่งอาจจะกล่าวได้ว่าศาสนามีความสำคัญแก่คนเราไม่น้อย
                        ข่าวที่ปรากฏสำหรับเรื่องนี้มีเพียงเท่านี้ ส่วนข่าวคืบหน้าจะได้นำเสนอต่อไป

ดาวน์โหลดสื่อการสอนภาษาไทย


http://cgpolygon.com/wp-content/uploads/2011/10/CAI-%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%99-%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2-%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2-003.png

ขอเชิญดาวน์โหลดสือการสอนภาษาไทยได้ที่นี่ครับ 




 ดาวน์โหลดวีดีทัศน์ฝึกอ่านภาษาไทยครับ 


ดาวน์โหลดแผนการสอน(รถไฟป.๑)


 ดาวน์โหลดแบบฝึกทักษะคัดลายมือสวยๆ
 ดาวน์โหลดวีดีทัศน์ฝึกอ่านสระครับ 


ดาวน์โหลดแบบฝึกทักษะชั้นอนุบาล ถึงป.๑  


  • วันนี้ ครูเตี้ยนำแบบฝึกภาษาไทยซึ่งเป็นผลงานของครุ คศ.๓ มาฝากครับ เครดิตตามรายการข้างล่างนะครับ พร้อมใช้งาน เป็นแบบฝึกที่ดีมากๆครับ 
  • การจัดการเรียนรู้สาระภาษาไทย เรื่อง พัฒนาการอ่าน – เขียนสระเปลี่ยนรูปและสระลดรูป ชั้นประถมศึกษาปี ที่ ๑จัดทำโดย นางจารุวรรณ อรุณธัญญา โรงเรียนสฤษดิเดช สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต ๑
    [ดาวน์โหลด
    ]
  • หนังสือส่งเสริมการอ่านชุด “เรียนรู้สระประสม”กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปี ที่ ๑  จัดทำโดย นางชูสิน ศรีเวช โรงเรียนอนุบาลจันทบุรีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต ๑
    [ดาวน์โหลด]
  • แบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสะกดคำกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปี ที่ ๑ จัดทำโดย นางจริยา ฤทธิพฤกษ์ โรงเรียนอนุบาลจันทบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต ๑
    [ดาวน์โหลด
    ]
  • แบบฝึกทักษะการสอนอ่านวิเคราะห์ ชั้นประถมศึกษาปี ที่ ๒ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย จัดทำโดย นางสาวฐิติวรรณ วัฒนรังษี โรงเรียนอนุบาลจันทบุรีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต ๑
    [ดาวน์โหลด]
  • แบบ ฝึกการเขียนสะกดคำที่มีตัวการันต์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จัดทำโดย นางอุษา ทรายทอง โรงเรียนสฤษดิเดช สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต ๑
    [ดาวน์โหลด]
  • แบบ ฝึกเสริมทักษะ การอ่านและการเขียนคำในมาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓จัดทำโดย นางเพ็ชรินทร์ ทรัพย์เจริญ โรงเรียนอนุบาลบ้านหนองคล้า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต ๑[ดาวน์โหลด]
  • แบบ ฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่สะกดไม่ตรงตามมาตราแม่ กก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒จัดทำโดย นางอัมพร เนียมละออง โรงเรียนสฤษดิเดช สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต ๑
    [ดาวน์โหลด]
  • แบบ ฝึกทักษะการอ่านและเขียนภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ ๑ จัดทำโดย นางอัญชลี พูลเจริญโรงเรียนสฤษดิเดช สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต ๑
    [ดาวน์โหลด]
  • แบบ ฝึกทักษะการอ่านจับใจความโดยใช้แผนผังความคิด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ จัดทำโดย นางสาวนงลักษณ์ คำรอต โรงเรียนสฤษดิเดช สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
    ประถมศึกษาจันทบุรี เขต ๑

    [ดาวน์โหลด]
  • แบบฝึกทักษะเพื่อพัฒนาการอ่านการเขียนคำควบกลํ้า กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ จัดทำโดย นางปัทมา สฤษฎ์ิศิริ โรงเรียนสฤษดิเดช สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต ๑
    [ดาวน์โหลด]
  • แบบ ฝึกทักษะการเขียนสะกดคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปี ที่ ๒ จัดทำโดย นางวิไลวรรณ บุญศรี โรงเรียนอนุบาลจันทบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต ๑
    [ดาวน์โหลด]
  • แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำที่มีตัวสะกด กลุ่ม สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓จัดทำโดย นางสาวบุษบา ผลพืช โรงเรียนอนุบาลจันทบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต ๑
    [ดาวน์โหลด]
  • หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด สระน่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปี ที่ ๑ จัดทำโดย นางณัฏฐ์กชพร ปรีดิพาอิงครัต โรงเรียนวัดไผ่ล้อม (อินทก์อุทัย) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี เขต ๑
    [ดาวน์โหลด]
  • วันนี้ ครูเตี้ยนำแบบฝึกภาษาไทยซึ่งเป็นผลงานของครุ คศ.๓ มาฝากครับ เครดิตตามรายการข้างล่างนะครับ พร้อมใช้งาน เป็นแบบฝึกที่ดีมากๆครับ 
  • การจัดการเรียนรู้สาระภาษาไทย เรื่อง พัฒนาการอ่าน – เขียนสระเปลี่ยนรูปและสระลดรูป ชั้นประถมศึกษาปี ที่ ๑จัดทำโดย นางจารุวรรณ อรุณธัญญา โรงเรียนสฤษดิเดช สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต ๑
    [ดาวน์โหลด
    ]
  • หนังสือส่งเสริมการอ่านชุด “เรียนรู้สระประสม”กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปี ที่ ๑  จัดทำโดย นางชูสิน ศรีเวช โรงเรียนอนุบาลจันทบุรีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต ๑
    [ดาวน์โหลด]
  • แบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสะกดคำกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปี ที่ ๑ จัดทำโดย นางจริยา ฤทธิพฤกษ์ โรงเรียนอนุบาลจันทบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต ๑
    [ดาวน์โหลด
    ]
  • แบบฝึกทักษะการสอนอ่านวิเคราะห์ ชั้นประถมศึกษาปี ที่ ๒ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย จัดทำโดย นางสาวฐิติวรรณ วัฒนรังษี โรงเรียนอนุบาลจันทบุรีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต ๑
    [ดาวน์โหลด]
  • แบบ ฝึกการเขียนสะกดคำที่มีตัวการันต์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จัดทำโดย นางอุษา ทรายทอง โรงเรียนสฤษดิเดช สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต ๑
    [ดาวน์โหลด]
  • แบบ ฝึกเสริมทักษะ การอ่านและการเขียนคำในมาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓จัดทำโดย นางเพ็ชรินทร์ ทรัพย์เจริญ โรงเรียนอนุบาลบ้านหนองคล้า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต ๑[ดาวน์โหลด]
  • แบบ ฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่สะกดไม่ตรงตามมาตราแม่ กก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒จัดทำโดย นางอัมพร เนียมละออง โรงเรียนสฤษดิเดช สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต ๑
    [ดาวน์โหลด]
  • แบบ ฝึกทักษะการอ่านและเขียนภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ ๑ จัดทำโดย นางอัญชลี พูลเจริญโรงเรียนสฤษดิเดช สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต ๑
    [ดาวน์โหลด]
  • แบบ ฝึกทักษะการอ่านจับใจความโดยใช้แผนผังความคิด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ จัดทำโดย นางสาวนงลักษณ์ คำรอต โรงเรียนสฤษดิเดช สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
    ประถมศึกษาจันทบุรี เขต ๑

    [ดาวน์โหลด]
  • แบบฝึกทักษะเพื่อพัฒนาการอ่านการเขียนคำควบกลํ้า กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ จัดทำโดย นางปัทมา สฤษฎ์ิศิริ โรงเรียนสฤษดิเดช สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต ๑
    [ดาวน์โหลด]
  • แบบ ฝึกทักษะการเขียนสะกดคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปี ที่ ๒ จัดทำโดย นางวิไลวรรณ บุญศรี โรงเรียนอนุบาลจันทบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต ๑
    [ดาวน์โหลด]
  • แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำที่มีตัวสะกด กลุ่ม สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓จัดทำโดย นางสาวบุษบา ผลพืช โรงเรียนอนุบาลจันทบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต ๑
    [ดาวน์โหลด]
  • หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด สระน่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปี ที่ ๑ จัดทำโดย นางณัฏฐ์กชพร ปรีดิพาอิงครัต โรงเรียนวัดไผ่ล้อม (อินทก์อุทัย) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี เขต ๑
    [ดาวน์โหลด]

อักษรไทยและการผันวรรณยุกต์

ในภาษาไทยมีตัวอักษรที่ใช้แทนเสียง ๓ ชนิด ได้แก่ สระ พยัญชนะ และวรรณยุกต์
http://www.complexplaza.com/images/products/P-YOU-132.jpg
พยัญชนะไทย มี ๔๔ รูป ๒๑ เสียง
เสียง รูป
๑. ก
๒. ข
๓. ง
๔. จ
๕. ช
๖.ซ
๗.ย
๘.ด
๙.ต
๑๐. ท
๑๑.น
๑๒. ป
๑๓.พ
๑๔.ฟ
๑๕.ม
๑๖.ย
๑๗.ร
๑๘.ล
๑๙.ว
๒๐.ฮ
๒๑.อ

ข ค ฅ ฆ


ช ฉ ฌ
ซ ศ ษ ส
ญ ย
ด ฎ
ต ฏ
ฐ ฑ ฒ ถ ท ธ
น ณ

พ ผ ภ


ย ญ

ล ฬ

ฮ ห
หน้าที่ของพยัญชนะ
๑. เป็นพยัญชนะต้น า เป็สัตว์ ใกล้สูพันธ์
ก ป ส กล ส พ เป็นพยัญชนะต้น
๒. เป็นพยัญชนะท้ายพยางค์(ตัวสะกด) เกิเป็ชาหมารันี้หนั
อักษรที่ขีดเส้นใต้เป็นพยัญชนะท้ายพยางค์หรือตัวสะกด
๓. เป็นอักษรควบ (ควบแท้และ ไม่แท้) ควบแท้ พลาดพลั้ครั้คราว กราวกรู ครูคลุ้คลั่ขวักไขว่
ควบไม่แท้ศร้สร้อย ศรี จริ
ที่เรียกว่าควบแท้เพราะออกเสียงอักษรทั้งสองตัวพร้อมกัน
ที่เรียกควบไม่แท้เพราะไม่ได้ออกเสียงตัวที่ควบด้วย กล่าวคือ
ไม่ได้ออกเสียง ร นั่นเอง
๔. เป็นอักษรนำ-อักษรตาม ตลาด ต อักษรกลาง นำ ล อักษรต่ำ ออกเสียงวรรณยุกต์ตาม ต
สนาม ส อักษรสูง นำ น อักษรต่ำ ออกเสียงวรรณยุกต์ตาม ส
ผลิต ผ อักษรสูงนำ ล อักษรต่ำ ออกเสียงวรรณยุกต์ตาม ผ
อย่า อยู่ อย่าง อยาก อ อักษรกลาง นำ ย อักษรต่ำ ออกเสียง
วรรณยุกต์ตาม อ
หรู หรา ห อักษรสูง นำ ร อักษรต่ำ ออกเสียงวรรณยุกต์ตาม ห
หญิง หญ้า ใหญ่ ห อักษรสูง นำ ญอักษรต่ำ ออกเสียง
วรรณยุกต์ตาม ห
๕. เป็นสระ (อ ว ย ร รรค์ รร ทำหน้าที่แทนวิสรรชนีย์ หรือสระอะ
น ว เป็นสระอัวลดรูป
เสี ย เป็นส่วนประกอบของสระเอีย
เสือ มือ อ เป็นสระ และเป็นส่วนหนึ่งของสระ
๖. เป็นตัวการันต์ จันทร์ (ทร์ เป็นตัวการันต์ ลักษณ์ ษณ์ เป็นตัวการันต์
ศิลป์ ป์ เป็นตัวการันต์
อักษรนำ
อักษรควบ
ตัวอย่างคำอักษรนำ-อักษรตาม
ขยะขยาดตลาดเสนอ.........ฉลาดเสมอเฉลิมไฉน
สนิมสนองฉลองไสว..........เถลไถลหวาดหวั่นแสวง
อย่าอยู่อย่างอยากเผยอ..........ตลิ่งตลบเสนอถลอกแถลง
จมูกถนัดขยะแขยง...............สวะสวิงหน่ายแหนงขยับขยาย
หรูหราหรุบหรับ(สา)หร่าย... สลับสลายเสนาะสนุกสนาน
สลิดเสลดสลัดสมาน .. หหวังหลอกเหลนหลานหลากหลาย
ตัวอย่างคำอักษรควบแท้และไม่แท้
กราดเกรี้ยวเกลียวคลื่นคล้าย
ปลุกปลอบควายคลายโกรธเกรี้ยว
ตรวจตรากล้าจริงเพรียว
ขวักไขว่คว่ำกล้ำกลบคลอง
ทรายเศร้าเคล้าคลึงศรี
ทราบโทรมตรีปลีกล้วยพร่อง
ครึ้มครึกตริตรึกตรอง
เปล่าพลิกกลองแปรเปลี่ยนแปลง

อักษร ๓ หมู่ (ไตรยางค์) เสียง สามัญ เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี เสียงจัตวา หมายเหตุ
อักษรกลาง
ก จ ด ฎตฏ บ ป อ
คำเป็น
คำตาย


ปา


ป่า
กัด


ป้า
กั้ด


ป๊า
กั๊ด


ป๋า
กั๋ด
คำเป็นพื้นเสียงเป็น
เสียงสามัญ
คำตายพื้นเสียงเป็น
เสียงเอก
อักษรสูง
ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห
คำเป็น
คำตาย


-
-

ข่า
ขัด

ข้า
ขั้ด

-
-

ขา
-
คำเป็นพื้นเสียงเป็น
เสียงจัตวา
คำตายพื้นเสียงเป็น
เสียงเอก
อักษรต่ำ
(อักษรที่เหลือ ๒๔ ตัว)
คำเป็น
คำตายเสียงยาว
คำตายเสียงสั้น


คา
-
-


-
-
-


ค่า
คาด
ค่ะ


ค้า
ค้าด
คะ

-
-
-
คำเป็นพื้นเสียงเป็น
เสียงสามัญ หากผัน
ร่วมกับอักษรสูงจะผัน
ได้ครบ ๕ เสียง เช่น
คา ข่า ค่า(ข้า) ค้า ขา
(จัดทำโดย คุณครูภาทิพ ศรีสุทธิ์ ห้องเรียนสีชมพู)