Monday, July 8, 2013

เสียงพยัญชนะ

เสียงพยัญชนะ   

       พยัญชนะ แปลว่า การกระทำเสียงให้ปรากฏชัด หรือเครื่องหมายตัวอักษรที่ใช้แทนภาษาพูด พยัญชนะจะออกเสียงตามลำพังไม่ได้ต้องอาศัยสระ

เสียงพยัญชนะในภาษาไทย



        เสียงพยัญชนะในภาษาไทย มี ๒๑ เสียง (๔๔ รูป)
--------------------------------------------------------------------------------------
๑. /ก/  ก                        ๘. /ด/  ด ฎ                     ๑๕. /ฟ/  ฟ ฝ
๒. /ค/  ข ค ฆ (ฃ ฅ)        ๙. /ต/  ต ฏ                       ๑๖. /ม/  ม
๓. /ง/  ง                      ๑๐. /ท/  ท ฐ ถ ฑ ฒ ธ        ๑๗. /ร/  ร
๔. /จ/  จ                        ๑๑. /น/  น ณ                  ๑๘. /ล/  ล ฬ
๕. /ช/  ช ฉ ฌ               ๑๒. /บ/  บ                         ๑๙. /ว/  ว
๖. /ซ/  ซ ศ ส ษ               ๑๓. /ป/  ป                      ๒๐. /ฮ/  ฮ ห
๗. /ย/  ญ ย                        ๑๔. /พ/  ผ พ ภ               ๒๑. /อ/  อ    
---------------------------------------------------------------------------
(บางตำรานับ ๒๐ เสียง ไม่นับเสียง /อ/)

สรุปพยัญชนะที่ไม่ออกเสียง

        ๑. พยัญชนะที่มีเครื่องหมายทัณฑฆาตกำกับ เช่น วิทย์ ศาสน์

        ๒. พยัญชนะซึ่งตามหลังตัวสะกดในบางคำ เช่น พุทธ ภัทร

        ๓. ร หรือ ห ซึ่งนำพยัญชนะตัวสะกดในบางคำ เช่น สามารถ พรหม พราหมณ์

        ๔. ร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอักษรควบไม่แท้ เช่น  จริง เสร็จ โครม  สร้าง โทรม

เสียงวรรณยุกต์ 
        เสียงวรรณยุกต์ คือ เสียงที่เปล่งออกมามีระดับสูงต่ำต่างกัน ทำให้ความหมายต่างกัน ด้วยซึ่งเป็นเสียงที่เกิดกับเสียงสระและเสียงพยัญชนะวรรค วรรณยุกต์ไทย มี ๕ เสียง ๔ รูป คือ
---------------------------------------------------------------------------------------------
เสียง   เสียงสามัญ      เสียงเอก        เสียงโท         เสียงตรี        เสียงจัตวา
-------------------------------------------------------------------------------------------
 รูป           -                            ่                ้                        ๊                     ๋

        ในบางคำรูปกับเสียงวรรณยุกต์อาจไม่ตรงกัน พยัญชนะต้น สระ และตัวสะกดมีความสำคัญต่อการในวรรณยุกต์ไม่น้อยกว่ารูปวรรณยุกต์ ในการเขียนจึงต้องพิจารณาสิ่งเหล่านี้ด้วย จึงจะใช้วรรณยุกต์ได้ถูกต้อง เช่น โน้ต เชิ้ต เสียงตรีแต่ใช้รูปวรรณยุกต์โทเป็นต้น

        ตัวอย่างการผันอักษร    

   ตัวอย่างการผันอักษร                        
-+-----------------------------------------------------------------------                   
    สามัญ                   เอก           โท          ตรี        จัตวา
--------------------------------------------------------------------------
อักษรกลางคำเป็น      กา      ก่า    ก้า    ก๊า    ก๋า
อักษรกลางคำตาย      -      กะ    ก้ะ    ก๊ะ    ก๋ะ
อักษรสูงคำเป็น          -      ข่า    ข้า     -        ขา     
อักษรสูงคำตาย                 -      ขะ       ข้ะ        -        - 
อักษรต่ำคำเป็น            คา             -              ค่า           ค้า         -
อักษรต่ำคำตายสระเสียงสั้น       -    -     ค่ะ    คะ    ค๋ะ  
อักษรต่ำคำตายสระเสียงยาว    -      -     โนต     โน้ต     โน๋ต   
----------------------------------------------------------------------------                   
        จะเห็นได้ว่าอักษรสูงกับอักษรกลางมีเสียงตรงกับรูปเสมอ  แต่อักษรต่ำจะมีเสียงสูงกว่านั้นอีก เว้นแต่เสียงจัตวาเพราะไม่มีเสียงใดสูงกว่านั้นอีก วิธีผันอักษรสูงและอักษรต่ำให้ครบ  ๕ เสียง ทำได้โดยนำอักษรต่ำคู่ที่มีเสียงคู่กับอักษรมาผันคู่กัน เช่น                             
--------------------------------------------------------------------------------------                   
     เสียงสามัญ       เสียงเอก    เสียงโท       เสียงตรี    เสียงจัตวา
---------------------------------------------------------------------------------------
อักษรสูง     -       ข่า      ข้า    -    ขา
อักษรต่ำ (คู่)    คา     -    ค่า    ค้า    -
-+---------------------------------------------------------------------------------------                   
       ส่วนอักษรต่ำเดี่ยวอาจผันให้ครบทั้ง ๕ เสียงใช้อักษรกลางหรือสูงเป็นตัวนำ เช่น                   
                   
                   เสียงสามัญ           เสียงเอก        เสียงโท         เสียงตรี        เสียงจัตวา                   
                   
  อักษรสูง        อยู่                      อยู่                   อยู้             ยู้               ยู๋                   
                   
  อักษรต่ำ (คู่)     นี                     หนี่                   หนี้             นี้              หนี                   

เสียงสระ


ฐานที่เกิดเสียงสระ
        เสียงสระ เกิดขึ้นโดยอาศัยคอเป็นที่ตั้ง และริมฝีปากหรือลิ้นกระทบอวัยวะในปากเป็นเครื่องช่วย ลิ้นที่ทำให้เกิดเสียงมีอยู่ ๓ ส่วน คือ ลิ้นส่วนหน้า ส่วนกลาง ส่วนหลังลิ้นแต่ละส่วนก็ยังสามารถกระดกขึ้นลงได้ ๓ ระดับ  คือ สูง กลาง ต่ำ ถ้าลิ้นกระดกระดับต่าง ๆ เสียงสระที่เกิดขึ้นก็จะต่างกันไปด้วย จากตารางต่อไปนี้แสดงให้เห็นส่วนของลิ้นที่ทำให้เกิดสระ


 
-----------------------------------------------------------------------------------------
 ระดับลิ้น                ลิ้นส่วนหน้า                  ลิ้นส่วนกลาง         ลิ้นส่วนหลัง   
------------------------------------------------------------------------------------------------
  สูง                    อิ       อี                        อึ       อือ                      อุ        อู

กลาง                 เอะ      เอ                      เออะ      เออ               โอะ       โอ

ต่ำ                     แอะ     แอ                      อะ       อา                      เอาะ      ออ 
-----------------------------------------------------------------------------------------------------   
รูปสระ
        สระไทย ๒๑ รูป ดังนี้
๑.     ะ  วิสรรชนีย์     ๘.     "   ฟันหนู       ๑๕.   อ       ตัวออ
๒.      ั  ไม้ผัดหรือไม้หันอากาศ     ๙.      ุ   ตีนเหยียด       ๑๖.   ย       ตัวยอ
๓.      ็  ไม้ไต่คู้     ๑๐.    ู   ตีนคู้     ๑๗.  ว        ตัววอ
๔.    ๆ   ลากข้าง          ๑๑    เ      ไม้หน้า     ๑๘.  ฤ       ตัวร
๕.      ิ   พินท์อิ     ๑๒.   ใ       ไม้ม้วน     ๑๙.  ฤา     ตัวรือ
๖.      ่   ฝนทอง        ๑๓.   ไ       ไม้มลาย     ๒๐.  ฦ       ตัวลึ
๗.      ํ   นฤคหิต (หยดน้ำค้าง)     ๑๔.   โ       ไม้โอ     ๒๑. ฦา      ตัว ลือ    

เสียงสระ       
        เสียงสระในภาษาไทยมี ๒๔ เสียงจำแนกเป็นเสียงเดี่ยวหรือสระแท้ ๑๘ เสียงสระเลื่อน ๖ เสียง
                ๑. สระเดี่ยว หรือสระแท้ มี ๑๘ เสียง ซึ่งมีเสียงสั้นเสียงยาว ๙ คู่ ดังนี้
                        รัสสระ (สระเสียงสั้น)                   ทีฆสระ (สระเสียงยาว)
                           อะ                                                        อา
                           อิ                                                          อี   
                           อี                                                          อื     
                           อุ                                                          อู  
                           เอะ                                                       เอ 
                           แอะ                                                      แอ 
                           โอะ                                                      โอ 
                          เอาะ                                                      ออ 
                          เออะ                                                     เออ
                ๒. สระเลื่อน หรือสระประสม ในภาษาไทยมี ๖ เสียง คือสระที่มีการเลื่อนระดับของลิ้นจากเสียงหนึ่งไปยังเสียงหนึ่ง
ได้แก่
รัสสระ (สระเสียงสั้น)           ทีฆสระ (สระเสียงยาว)
                                เอียะ (อิ -> อะ)                เอีย (อี -> อา)
                                เอือะ (อื -> อะ)                เอือ (อื -> อา)
                                อัวะ (อุ -> อะ)                 อัว (อู -> อา)
        คำที่มีสระเลื่อนเสียงสั้นมีเพียงไม่กี่คำที่ยืมมาจากภาษาอื่น เช่น เกี๊ยะ  เปรี๊ยะ เบื๊อก เอื๊อก ผัวะ ยัวะ ด้วยเหตุนี้นักภาษาศาสตร์บางคนจึงถือว่าภาษาไทยมีสระเลื่อนเพียง ๓ เสียง คือ /เอีย/ /เอือ/ /อัว/ข้อพิจารณาเกี่ยวกับเสียงสระ

        ๑. สระบางเสียงใช้อักษรแทนได้หลายรูป เช่น  คำว่า "ไน" อาจเขียนว่า"นัย" หรือ "ใน" คำว่า "กำ" อาจเขียนว่า "กรรม"
        ๒. ในบางคำรูปสระบางรูปไม่ออกเสียง เช่นคำว่า ญาติ  ประวัติ ในคำว่าเหตุธาตุ
        ๓. ในบางคำมีเสียงสระ /อะ/ แต่ไม่ปรากฏรูป  เช่น สบาย ตลาด หวายอร่อย
        ๔. ไม้ไต่คู้   ใช้แสดงเสียงสั้นแต่คำบางคำเสียงสั้นก็ไม่นิยมใช้ไม้ไต่คู้   เช่น  เพชร เบญจ
        ๕. ภาษาไทยมีรูปสระวางไว้หลายตำแหน่ง

                วางไว้ข้างหน้าพยัญชนะ    เช่น สระ เ-  แ-  ใ-
                วางไว้ข้างหลังพยัญชนะ    เช่น สระ -า
                วางไว้ข้างบนพยัญชนะ     เช่น สระ  -ิ  -ี
                วางไว้ข้างล่างพยัญชนะ    เช่น สระ  -ุ  -ู
                วางไว้ข้างหน้าและข้างหลัง เช่น สระ เ-า
                วางไว้ข้างหน้าและข้างบน  เช่น สระ เ-ีย

        ๖. การใช้สระ มี ๓ ลักษณะ คือ 
                ๑. สระคงรูป    เช่น ใน เสา มี
                ๒. สระลดรูป    เช่น ตก
                ๓. สระเปลี่ยนรูป เช่น มัน เห็น


เสียงในภาษาไทย

     เสียง    

      เสียงในความหมายกว้าง ๆ หมายถึง เสียงต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเสียงมนุษย์เสียงสัตว์ หรือเสียงอื่นใดก็ตาม แต่ในการศึกษา เสียง หมายถึง เสียงที่มนุษย์เปล่งออกมาเพื่อสื่อความหมายระหว่างมนุษย์ด้วยกัน

เสียงในภาษาไทย

เสียงในภาษาไทยแบ่งออกเป็น ๓ ชนิด ด้วยกัน คือ เสียงสระ เสียงพยัญชนะและเสียงวรรณยุกต์


            - เสียงสระ 
หรือเสียงแท้ เกิดจากลมที่ออกจากปอดโดยไม่ถูกอวัยวะใดกีดขวาง

         - เสียงพยัญชนะ
หรือเสียงแปร เกิดจากการลมที่ออกจากปอดแล้วถูกปิดกั้นทางเดิน ของลมให้แคบลง ทำให้ลมผ่านไม่สะดวกจนต้องเสียดแทรกออกมา

             - เสียงวรรณยุกต์
หรือเสียงดนตรี  เกิดจากเสียงเปล่งออกมาพร้อมเสียงแปรจะมีเสียงสูง ต่ำ ตามการสั่นสะเทือนของสายเสียงอวัยวะที่ทำให้เกิดเสียง ได้แก่ ปอด หลอดลม กล่องเสียง ลิ้นไก่ ลิ้น เพดานปุ่มเหงือก ฟัน และริมฝีปาก

เสียงหนักเบา

        การเน้นเสียงหนักเบาในภาษาไทย มักเนื่องมาจากสาเหตุหลายประการ เช่น 
                ๑. ลักษณะส่วนประกอบของพยางค์
                ๒. ตำแหน่งของพยางค์ในคำ
                ๓. หน้าที่และความหมายของคำ

        ๑. ลักษณะส่วนประกอบของพยางค์ พยางค์ที่ประกอบด้วยสระเสียงยาว และพยางค์ที่มีพยัญชนะสะกด จะออกเสียงเน้น (หนัก) เรียกว่า คำครุ
                ครุ หมายถึง คำที่ออกเสียงหนัก มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
                        ๑. ประสมด้วยสระเสียงยาว
                        ๒. ประสมด้วยสระ อำ ไอ ใอ เอา
                        ๓. มีตัวสะกดในมาตราต่าง ๆ
                ครุ มีเครื่องหมายที่ใช้แทน คือ 
                ลหุ คือ คำที่ออกเสียงเบา มีลักษณะดังนี้
                        ๑. ประสมด้วยสระเสียงสั้น
                        ๒. ไม่มีตัวสะกด
                ลหุ มีเครื่องหมายที่ใช้แทน คือ
        ตัวอย่างแผนภูมิแสดงเสียงหนักเบา

                             มะกอกมะกก                                                      มะค่ามะเขือ

                        ุ        ั        ุ      ั                                                      ุ      ั      ุ      ั

                        มะกล่ำมะเกลือ                                                        มะเฟืองมะไฟ

                      ุ        ั        ุ      ั                                                          ุ        ั         ุ      ั

                        พินิศพนัศ                                                                  ระบัดละใบ

                        ุ      ั     ุ      ั                                                               ุ      ั      ุ      ั

                        เสลาไศล                                                                 ละลิ่วละลาน

                        ุ     ั     ุ      ั                                                           ุ      ั      ุ      ั

        ๒. ตำแหน่งของพยางค์ในคำ ในภาษาไทยคำที่มักออกเสียงหนัก คือ พยางค์สุดท้ายของคำ เช่น พูดบ้าบ้า พูดช้าช้า ถ้าเป็นคำ ๓ พยางค์มักเน้นพยางค์ที่ ๑ กับ หรือถ้าพยางค์ที่ ๒ เป็นสระเสียงยาวหรือพยัญชนะท้ายก็จะออกเสียงหนักด้วย เช่น ปัจจุบันเขาเลิกกิจการไปแล้ว

        ๓. หน้าที่และความหมายของคำ  คำที่ทำหน้าที่เป็นประธาน กริยา กรรม หรือขยายประธาน กริยา กรรม เรามักออกเสียงเน้นหนัก แต่คำที่ทำหน้าที่เชื่อมเราไม่เน้นหนัก
        นอกจากนี้ เราอาจจะเน้นคำบางคำที่ต้องการความสนใจเป็นพิเศษ  เช่น
                น้อยชอบนันท์   ไม่ชอบนุช   น้อยชอบนันท์   ไม่ใช่ฉันชอบ

Sunday, July 7, 2013

วันที่ ๒๙ กรกฎาคม ของทุกปีเป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ

ความเป็นมา   


         คณะกรรมการรณรงค์เพื่อภาษาไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ตระหนักในคุณค่าและความสำคัญของภาษาไทย และมีความห่วงใยในปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นต่อภาษาไทย และเพื่อกระตุ้นและปลุกจิตสำนึกให้คนไทยทั้งชาติ ได้ตระหนักถึงคุณค่าและ ความสำคัญของภาษาไทย ตลอดจนร่วมมือกันทำนุบำรุง ส่งเสริม และอนุรักษ์ภาษาไทยให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป จึงได้เสนอขอให้รัฐบาล
ประกาศให้วันที่ ๒๙ กรกฎาคม ของทุกปี เป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ เช่นเดียวกับวันสำคัญอื่นๆ ที่รัฐบาลได้จัดให้มีมาก่อนแล้ว เช่น “วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ” และ “วันสื่อสารแห่งชาติ” เป็นต้น และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันอังคารที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๔๒ เห็นชอบให้วันที่ ๒๙ กรกฎาคม ของทุกปีเป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ

ทำไมต้องกำหนดวันที่ 29 กรฎาคม เป็น "วันภาษาไทยแห่งชาติ"
  
      เพราะวันดังกล่าว ตรงกับวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนิน ไปเป็นประธานและทรงร่วมอภิปรายในการประชุมทางวิชาการของชุมนุมภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ ห้องประชุมคณะอักษรศาสตร์ เมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๐๕ ทรงเปิดการอภิปรายในหัวข้อ “ปัญหาการใช้คำไทย” ทรงดำเนินการอภิปรายและทรงสรุปการอภิปราย อย่างดีเยี่ยม แสดงถึงพระปรีชาสามารถและความสนพระราชหฤทัยและ ความห่วงใยในภาษาไทย เป็นที่ประทับใจผู้เข้าร่วมการประชุมในครั้งนั้น เป็นอย่างยิ่ง นับเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวในประวัติศาสตร์ของวงการ ภาษาไทย ที่ได้รับพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณดังกล่าว และในโอกาสต่อๆ มา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังได้ทรงแสดงความสนพระราชหฤทัยและ ความห่วงใยในภาษาไทยอีกหลายโอกาส เช่น ได้พระราชทานพระราชดำรัส เกี่ยวกับปัญหาในการใช้ภาษาไทยของประชาชนชาวไทยในปัจจุบัน ในวโรกาสที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ข้าราชการและองค์กรเอกชนเข้าเฝ้า ถวายชัยมงคล เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา พุทธศักราช ๒๕๓๕ นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงย้ำให้ประชาชนชาวไทยตระหนัก ถึงความสำคัญของภาษาไทยและพระราชทานแนวความคิดในการอนุรักษ์ภาษาไทย ในโอกาสต่างๆ อยู่เสมอ ที่สำคัญยิ่งกว่านี้ คือ เป็นที่ประจักษ์ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระปรีชาญาณและพระอัจฉริยภาพในการ ใช้ภาษาไทยทรงรอบรู้ปราดเปรื่องถึงรากศัพท์ของคำไทย คือ ภาษาบาลีและ สันสกฤต ทรงพระอุตสาหะวิริยะแปลและเรียบเรียงวรรณกรรมภาษาต่างประเทศ เป็นภาษาไทย ที่สมบูรณ์ด้วยลักษณะวรรณศิลป์ มีเนื้อหาสาระที่มีคุณค่าเป็นคติ ในการเสียสละเพื่อส่วนรวม และเป็นแบบอย่างแก่ประชาชนในการใช้ภาษาไทย ดังจะเห็นได้จากพระราชนิพนธ์แปลเรื่องนายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ ติโต พระราชนิพนธ์ แปลบทความเรื่องสั้นๆ หลายบท และพระราชนิพนธ์ เรื่อง พระมหาชนก นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อมที่สุดมิได้แก่วงการ

วัตถุประสงค์   

๑.   เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
ผู้ทรงเป็นนักปราชญ์และนักภาษาไทยรวมทั้งเพื่อน้อมรำลึกใน
พระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่ได้ทรงแสดงความห่วงใยและพระราชทาน
แนวคิดต่างๆ เกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย

๒.   เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในมหามงคล
สมัยเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒

๓.   เพื่อกระตุ้นและปลุกจิตสำนึกของคนไทยทั้งชาติให้ตระหนักถึง
ความสำคัญและคุณค่าของภาษาไทย ตลอดจนร่วมมือร่วมใจกันทำนุบำรุง
ส่งเสริม และอนุรักษ์ภาษาไทย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์และเป็นสมบัติวัฒนธรรม
อันล้ำค่าของชาติให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป

๔.   เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการใช้ภาษาไทย ทั้งในวงวิชาการและวิชาชีพ รวมทั้งเพื่อยกมาตรฐานการเรียนการสอนภาษาไทยในสถานศึกษาทุกระดับ
ให้มีสัมฤทธิผลยิ่งขึ้น

๕.   เพื่อเปิดโอกาสให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชนทั่วประเทศ
มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อเผยแพร่ความรู้ภาษาไทยใน
รูปแบบต่างๆ ไปสู่สาธารณชนทั้งในฐานะที่เป็นภาษาประจำชาติและ
ในฐานะที่เป็นภาษาเพื่อการสื่อสารของทุกคนในชาติ
    
 ประโยชน์   

ประโยชน์ที่ได้รับจากการมีวันภาษาไทยแห่งชาติ คาดว่าจะมีผลดีสืบเนื่องหลายประการ คือ

๑.   การมี “วันภาษาไทยแห่งชาติ” จะทำให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานในกระทรวงศึกษาธิการ และทบวงมหาวิทยาลัย ตระหนักในความสำคัญของภาษาไทย และร่วมกันจัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นเตือน เผยแพร่ และเน้นย้ำให้ประชาชนเห็นความสำคัญของ “ภาษาประจำชาติ” ของคนไทยทุกคน และร่วมมือกันอนุรักษ์การใช้ภาษาไทยให้มีความถูกต้องงดงามอยู่เสมอ

๒.   บุคคลในวงวิชาชีพต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ภาษาไทย โดยเฉพาะในวงการศึกษา และวงการสื่อสาร ช่วยกันกวดขันดูแลให้การใช้ภาษาไทยเป็นไปอย่างถูกต้อง เหมาะสม มิให้ผันแปรเปลี่ยนแปลง จนเกิดความเสียหายแก่คุณลักษณะของภาษาไทยอันเป็นเอกลักษณ์ของชาติ

๓.   ผลสืบเนื่องในระยะยาว คาดว่าปวงชนชาวไทยทั่วประเทศจะตื่นตัวและสนใจที่จะร่วมกันฟื้นฟู ทำนุบำรุง ส่งเสริมและอนุรักษ์ภาษาไทย อันเป็นเอกลักษณ์และสมบัติวัฒนธรรมที่สำคัญของชาติให้ดำรงคงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป