Wednesday, May 1, 2013

คำเป็น คำตาย

คำเป็น คำตาย
        คำเป็น  
                ๑. เป็นคำที่ผสมด้วยสระเสียงยาวในแม่ ก กา เช่น ป้า มี ปู
                ๒. เป็นคำที่มีตัวสะกดอยู่ในแม่กง กน กม เกย เกอว เช่น จง มั่น ชม เชย ดาว
        คำตาย
                ๑. เป็นคำที่ผสมด้วยสระเสียงสั้นในแม่ ก กา เช่น จะ ปะ ทุ
                ๒. เป็นคำที่มีตัวสะกดในแม่ กก กด กบ เช่น นัด พบ นก

หน้าที่ของพยัญชนะ

หน้าที่ของพยัญชนะ
        ๑. เป็นพยัญชนะต้น คือ  พยัญชนะซึ่งอยู่ต้นพยางค์ พยัญชนะทุกตัวทำหน้าที่เป็นพยัญชนะต้นได้
        ๒. เป็นตัวสะกด คือ พยัญชนะที่อยู่ท้ายพยางค์มี ๘ เสียง เรียกว่ามาตราสะกด ได้แก่     
                แม่กน  มี น เป็นตัวสะกด และตัวอื่นทำหน้าที่เป็นตัวสะกดแทนได้ ได้แก่ น  ญ ณ ร ล ฬ
                แม่กง   มี ง เป็นตัวสะกด
                แม่กม   มี ม เป็นตัวสะกด
                แม่เกอว มี ว เป็นตัวสะกด
                แม่กก   มี ก เป็นตัวสะกด และตัวอื่นทำหน้าที่เหมือนตัว ก ได้แก่ ก ข ค ฆ
                แม่กด   มี ด เป็นตัวสะกดและตัวอื่นทำหน้าที่เหมือนตัว ด ได้แก่ ด จ ช ซ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ถ ท ธ
                แม่กบ   มี บ เป็นตัวสะกด และตัวอื่นทำหน้าที่เหมือนตัว บ ได้แก่ บ ป พ ฟ  ภ         
             เสียงพยัญชนะท้ายพยางค์หรือพยัญชนะสะกด เช่น
                /ก/ มัก มรรค สุก สุด เมฆ                /ด/ บาท ชาติ  คาด กฎหมาย ปรากฏ
                /บ/ บาป พาบภาพ ลาภ กราฟ          /ง/ ทาง องค์
                /น/ กาน บริเวณ เรียน กาล กาฬ      /ม/ คำ ธรรม             
                /ย/ ได ใย ชัย อาย                         /ว/ เสา สาว
        ๓. เป็นตัวการันต์ คือ พยัญชนะที่อยู่ท้ายแต่ไม่ออกเสียงส่วนมากมาจากภาษาอื่น
        ๔. เป็นตัวอักษรควบ คือ พยัญชนะที่ออกเสียงกล้ำกับ ร ล ว
        ๕. เป็นอักษรนำ คือ พยัญชนะ ๒ ตัวประสมกันสระเดียวกันแต่ออกเสียง ๒ พยางค์
        ๖. พยัญชนะที่เป็นรูปสระด้วย คือ ย ว อ
        ๗. พยัญชนะอัฒสระ คือ พยัญชนะที่มีเสียงกึ่งสระ ได้แก่ ย (อิ อี) ร (ฤ ฤา) ล (ฦ ฦา) อ (อุ อู  )
        ๘. พยัญชนะที่ไม่ใช้เป็นตัวสะกด ได้แก่ ฌ ฉ ผ ฝ ห อ ฮ (ฃฅ)
        ๙. พยัญชนะทีทำไม่ใช้ในปัจจุบัน คือ ฃ ฅ

อักษรคู่ อักษรเดี่ยว

อักษรคู่ อักษรเดี่ยว
        อักษรต่ำ ๒๔ ตัว แบ่งออกเป็น ๒ พวก คือ
                - อักษรต่ำคู่ คือ อักษรที่มีเสียงคู่กับอักษรสูง มี ๑๔ ตัว (พยัญชนะแถวที่ ๓, ๔) ได้แก่
                        ค ต ฆ   คู่กับ  ข
                        ฑ ฒ ท ธ  คู่กับ  ฐ ถ    
                        ช ฌ  คู่กับ  ฉ
                        พ ภ  คู่กับ  ผ
                        ฮ  คู่กับ  ห              
                        ซ  คู่กับ  ศ ษ ส
                        ฟ  คู่กับ  ฝ

               - อักษรต่ำเดี่ยว คือ อักษรต่ำที่เสียงไม่คู่กับอักษรสูง  มี ๑๐ ตัว (พยัญชนะแถวที่ ๕ กับเศษวรรค ย ร ล ว ฬ) ได้แก่ ง ญ ณ น ม ย ร ล ว ฬ เช่น งู ใหญ่นอน อยู่ ณ ริม วัด

พยัญชนะวรรค

พยัญชนะวรรค
        พยัญชนะในภาษาไทย แบ่งออกเป็นวรรคตามฐานกรณ์ที่เกิดเสียง  จัดลำดับตามจากแหล่งกำเนิดเสียงด้านในสุดออกมาตามลำดับ
        ประโยชน์จากการแบ่งวรรคทำให้เกิดประโยชน์ทางหลักภาษาในเรื่อง อักษรสังโยค ไตรยางค์ อักษรคู่ อักษรเดี่ยว
        ตารางการจัดพยัญชนะ      

ฐานที่เกิด  
ไตรยางค์ 
 วรรคที่ 
แถวที่ 
อักษร
กลาง
อักษร
สูง
อักษร
ต่ำ (คู่)
อักษร
ต่ำ (คู่)
๔ 
อักษรต่ำ

(เดี่ยว)
เศษวรรค
  กัณฐชะ (คอ) ข ฃ ค ฅ  ห อ ฮ
  ตาลุชะ (เพดาน) ช ซ ยศ
  มุทธชะ (ปุ่มเหงือก) ฎฏ ร ษ ฬ
  หันตะชะ (ฟัน) ดต ล ส
  โอฐชะ (ริมฝีปาก) บ ป  ผ ฝ  พ ฟ    ม    ว

อักษร

อักษรสังโยค
        อักษรสังโยค หรือหลักตัวสะกดตัวตาม เป็นหลักในการประสมอักษรในภาษาบาลี ช่วยให้เขียนหนังสือใช้ตัวสะกดการันต์ได้ถูกต้อง มีหลักปรากฏดังนี้
                - ถ้าพยัญชนะแถวที่ ๑ เป็นตัวสะกดแถวที่  (หรือแถวตัวเอง) เป็นตัวตาม เช่น
                        บุปผา (ป เป็นตัวสะกด ผ เป็นตัวตาม)
                        อัจฉรา (จ เป็นตัวสะกด ฉ เป็นตัวตาม)
                - ถ้าพยัญชนะแถวที่ ๓ เป็นตัวสะกด แถวที่ ๔ (หรือตัวเอง) เป็นตัวตาม
                        - ถ้าพยัญชนะแถวที่ ๕ เป็นตัวสะกดทุกตัวในวรรคตามได้หมด  (รวมทั้งตัวเองด้วย)
                เช่น    สังขาร (ง เป็นตัวสะกด ข เป็นตัวตาม)
                        สัญจร  (ญ เป็นตัวสะกด จ เป็นตัวตาม)
                        สมภพ  (ม เป็นตัวสะกด ภ เป็นตัวตาม)
                - พยัญชนะเศษวรรคที่เป็นตัวสะกดตัวเองตาม คือ ย ล ส
ไตรยางค์
        ไตรยางค์ คือ อักษร ๓ หมู่ที่แยกเป็นกลุ่ม ๆ ตามลำดับเสียง
                อักษรสูง มี ๑๑ ตัว คือ  ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห คือ พยัญชนะแถวที่ ๒ จากตารางทั้งหมด เช่น ผี ฝาก ไข่ ใส่ ถุง ให้ ฉัน
                อักษรกลาง มี ๙ ตัว คือ ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ คือ พยัญชนะแถวที่ ๑ จากตารางทั้งหมด เช่น ไก่ จิก เด็ก ตาบ บน ปาก โอ่ง
                อักษรต่ำ มี ๒๔ ตัว คือ ค ฅ ฆ ง ช ซ ฌ ญ ณ ท ธ ฑ ฒ น พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ฬ ฮ คือ พยัญชนะแถวที่ ๓, ๔ และ ๕
        ประโยชน์ของไตรยางค์ ช่วยในการผันอักษรให้มีเสียง และความหมายใกล้เคียงกับเสียงธรรมชาติมากที่สุด