Monday, July 8, 2013

เสียงสระ


ฐานที่เกิดเสียงสระ
        เสียงสระ เกิดขึ้นโดยอาศัยคอเป็นที่ตั้ง และริมฝีปากหรือลิ้นกระทบอวัยวะในปากเป็นเครื่องช่วย ลิ้นที่ทำให้เกิดเสียงมีอยู่ ๓ ส่วน คือ ลิ้นส่วนหน้า ส่วนกลาง ส่วนหลังลิ้นแต่ละส่วนก็ยังสามารถกระดกขึ้นลงได้ ๓ ระดับ  คือ สูง กลาง ต่ำ ถ้าลิ้นกระดกระดับต่าง ๆ เสียงสระที่เกิดขึ้นก็จะต่างกันไปด้วย จากตารางต่อไปนี้แสดงให้เห็นส่วนของลิ้นที่ทำให้เกิดสระ


 
-----------------------------------------------------------------------------------------
 ระดับลิ้น                ลิ้นส่วนหน้า                  ลิ้นส่วนกลาง         ลิ้นส่วนหลัง   
------------------------------------------------------------------------------------------------
  สูง                    อิ       อี                        อึ       อือ                      อุ        อู

กลาง                 เอะ      เอ                      เออะ      เออ               โอะ       โอ

ต่ำ                     แอะ     แอ                      อะ       อา                      เอาะ      ออ 
-----------------------------------------------------------------------------------------------------   
รูปสระ
        สระไทย ๒๑ รูป ดังนี้
๑.     ะ  วิสรรชนีย์     ๘.     "   ฟันหนู       ๑๕.   อ       ตัวออ
๒.      ั  ไม้ผัดหรือไม้หันอากาศ     ๙.      ุ   ตีนเหยียด       ๑๖.   ย       ตัวยอ
๓.      ็  ไม้ไต่คู้     ๑๐.    ู   ตีนคู้     ๑๗.  ว        ตัววอ
๔.    ๆ   ลากข้าง          ๑๑    เ      ไม้หน้า     ๑๘.  ฤ       ตัวร
๕.      ิ   พินท์อิ     ๑๒.   ใ       ไม้ม้วน     ๑๙.  ฤา     ตัวรือ
๖.      ่   ฝนทอง        ๑๓.   ไ       ไม้มลาย     ๒๐.  ฦ       ตัวลึ
๗.      ํ   นฤคหิต (หยดน้ำค้าง)     ๑๔.   โ       ไม้โอ     ๒๑. ฦา      ตัว ลือ    

เสียงสระ       
        เสียงสระในภาษาไทยมี ๒๔ เสียงจำแนกเป็นเสียงเดี่ยวหรือสระแท้ ๑๘ เสียงสระเลื่อน ๖ เสียง
                ๑. สระเดี่ยว หรือสระแท้ มี ๑๘ เสียง ซึ่งมีเสียงสั้นเสียงยาว ๙ คู่ ดังนี้
                        รัสสระ (สระเสียงสั้น)                   ทีฆสระ (สระเสียงยาว)
                           อะ                                                        อา
                           อิ                                                          อี   
                           อี                                                          อื     
                           อุ                                                          อู  
                           เอะ                                                       เอ 
                           แอะ                                                      แอ 
                           โอะ                                                      โอ 
                          เอาะ                                                      ออ 
                          เออะ                                                     เออ
                ๒. สระเลื่อน หรือสระประสม ในภาษาไทยมี ๖ เสียง คือสระที่มีการเลื่อนระดับของลิ้นจากเสียงหนึ่งไปยังเสียงหนึ่ง
ได้แก่
รัสสระ (สระเสียงสั้น)           ทีฆสระ (สระเสียงยาว)
                                เอียะ (อิ -> อะ)                เอีย (อี -> อา)
                                เอือะ (อื -> อะ)                เอือ (อื -> อา)
                                อัวะ (อุ -> อะ)                 อัว (อู -> อา)
        คำที่มีสระเลื่อนเสียงสั้นมีเพียงไม่กี่คำที่ยืมมาจากภาษาอื่น เช่น เกี๊ยะ  เปรี๊ยะ เบื๊อก เอื๊อก ผัวะ ยัวะ ด้วยเหตุนี้นักภาษาศาสตร์บางคนจึงถือว่าภาษาไทยมีสระเลื่อนเพียง ๓ เสียง คือ /เอีย/ /เอือ/ /อัว/ข้อพิจารณาเกี่ยวกับเสียงสระ

        ๑. สระบางเสียงใช้อักษรแทนได้หลายรูป เช่น  คำว่า "ไน" อาจเขียนว่า"นัย" หรือ "ใน" คำว่า "กำ" อาจเขียนว่า "กรรม"
        ๒. ในบางคำรูปสระบางรูปไม่ออกเสียง เช่นคำว่า ญาติ  ประวัติ ในคำว่าเหตุธาตุ
        ๓. ในบางคำมีเสียงสระ /อะ/ แต่ไม่ปรากฏรูป  เช่น สบาย ตลาด หวายอร่อย
        ๔. ไม้ไต่คู้   ใช้แสดงเสียงสั้นแต่คำบางคำเสียงสั้นก็ไม่นิยมใช้ไม้ไต่คู้   เช่น  เพชร เบญจ
        ๕. ภาษาไทยมีรูปสระวางไว้หลายตำแหน่ง

                วางไว้ข้างหน้าพยัญชนะ    เช่น สระ เ-  แ-  ใ-
                วางไว้ข้างหลังพยัญชนะ    เช่น สระ -า
                วางไว้ข้างบนพยัญชนะ     เช่น สระ  -ิ  -ี
                วางไว้ข้างล่างพยัญชนะ    เช่น สระ  -ุ  -ู
                วางไว้ข้างหน้าและข้างหลัง เช่น สระ เ-า
                วางไว้ข้างหน้าและข้างบน  เช่น สระ เ-ีย

        ๖. การใช้สระ มี ๓ ลักษณะ คือ 
                ๑. สระคงรูป    เช่น ใน เสา มี
                ๒. สระลดรูป    เช่น ตก
                ๓. สระเปลี่ยนรูป เช่น มัน เห็น


0 comments:

Post a Comment