Saturday, June 15, 2013

คำนาม + คำสรรพนาม+ คำกริยา

คำนาม หมายถึง คำที่ใช้เรียกชื่อคน  สัตว์ พืช  สิ่งของ  สภาพ  ลักษณะ   แบ่งออกเป็นชนิดย่อยได้ ๕ ชนิด
http://www.sahavicha.com/UserFiles/Image/imagesCAC1MVO6.jpg
๑. คำนามสามัญ (สามานยนาม)  เป็นคำที่ใช้เรียกชื่อทั่วไป   เช่น  คน  แมว   ปู  เสือ  ปลา  หอย  เป็ด  ไก่  นก  ฯลฯ

๒. คำชื่อเฉพาะ (วิสามานยนาม)  เป็นชื่อเฉพาะของคน  สัตว์  พืช  สิ่ง ของ  สถานที่   เช่น  พิษณุโลก  พรหมพิรามวิทยา  ไอ้ตูบ  เจ้าด่าง   พิชัย   นายสิทธิศักดิ์  เป็นต้น

๓. คำนามรวมหมู่ (สมุหนาม)  เป็นนามที่ใช้เรียกนามซึ่งอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เป็นหมวดหมู่  เช่น  กอง  กลุ่ม  หมู่  ฝูง  โขลง  พวก  พรรค  วง  ฯลฯ

๔. คำนิยมธรรม ( อาการนาม)  คือคำนามที่ใช้ “การ” หรือ “ความ” นำหน้าคำกริยา และใช้ “ความ” นำหน้าคำวิเศษณ์  เช่น  การเดิน  การนอน  การวิ่ง  การเกิด  ความรัก  ความตาย   ความคิด  ความดี  ความรู้  ฯลฯ

๕. คำลักษณนาม  เป็นคำบอกลักษณะของนาม   แบ่งย่อยได้  ๖ ชนิด  ดังนี้

            ๕.๑ ลักษณนามบอกชนิด   เช่น  รูป  ใช้ กับ ภิกษุ  สามเณร

เล่ม  ใช้กับ    หนังสือ  เกวียน  เทียน  เข็ม  ตะไกร

ใบ     ใช้กับ   ตู้  หม้อ  ตุ่ม  หมอน

            ๕.๒ ลักษณนามบอกหมวดหมู่   เช่น

                                    ฝูง    ใช้กับ  วัว  ควาย  ปลา  นก

                                    กอง  ใช้กับ  ทหาร  ลูกเสือ  อิฐ  ทราย  ผ้าป่า

                                    นิกาย  ใช้กับ  ศาสนา  ลัทธิ

                        ๕.๓ ลักษณนามบอกสัณฐาน   เช่น

                                    วง   ใช้กับ  แหวน   วงกลม  ตะกร้อ  สักวา   วงดนตรี   แตรวง

                                    หลัง  ใช้กับ  เรือน  มุ้ง  ตึก

                                    แผ่น  ใช้กับ  กระดาษ  กระดาน  กระเบื้อง  สังกะสี

                                    บาน   ใช้กับ  ประตู   หน้าต่าง  กระจกเงา  กรอบรูป

                        ๕.๔  ลักษณนามบอกจำนวนและมาตรา   เช่น

                                    คู่   ใช้กับ  รองเท้า  ถุงเท้า  ช้อนส้อม

                                    โหล  ใช้กับ  ของที่รวมกันจำนวน  ๑๒ ชิ้น  เช่น  สมุด  ดินสอ  ปากกา

                        ๕.๕  ลักษณนามบอกอาการ   เช่น

                                    จีบ      ใช้กับ   พลู

                                    จับ       ใช้กับ  ขนมจีน

                                    มวน    ใช้กับ   บุหรี่

                        ๕.๖  ลักษณนามซ้ำชื่อ    เช่น

                                    เมือง   ประเทศ    ตำบล   จังหวัด   ทวีป   ฯลฯ


คำสรรพนาม
          คำสรรพนาม  เป็นคำที่ใช้แทนคำนาม เพื่อไม่ต้องใช้ชื่อซ้ำ หรือไม่ต้องการเรียกชื่อ
นั้นโดยตรง    คำสรรพนาม  แบ่งย่อยได้  ๗  ชนิด   ดังนี้

            ๑. สรรพนามแทนบุคคล  (บุรุษสรรพนาม)  เป็นคำที่ใช้แทนคำพูด  เช่น  ผม  ฉัน  ดิฉัน  เรา   หรือคำที่ใช้แทนผู้ฟัง  เช่น  เธอ  ท่าน  คุณ   และคำที่ใช้แทนบุคคลหรือสิ่งที่เรากล่าวถึง เช่น มัน   แก  เขา  ท่าน  เป็นต้น

            ๒. สรรพนามใช้ชี้ระยะ (นิยมสรรพนาม)  เป็นคำที่ใช้แทนนามที่อยู่ใกล้  ได้แก่  นี่  นี้  ถ้าห่างออกไป จะใช้ นั่น  นั้น  และถ้าห่างที่สุดจะใช้  โน่น  โน้น  นู่น  นู้น   เป็นต้น   ตัวอย่างเช่น

                        นั่นเป็นรถของคุณพ่อ              

ฉันชอบอยู่ที่นี่มากกว่าที่โน่น

            ๓. สรรพนามใช้ถาม (ปฤจฉาสรรพนาม)  เป็นสรรพนามที่ใช้ถาม  ได้แก่  ใคร  อะไร  ไหน    เช่น                           ใครจะไปบ้าง    

 อะไรอยู่ในตู้     

 ไหนของฉัน                         

            ๔.  สรรพนามบอกความไม่เจาะจง (อนิยมสรรพนาม)  เป็นสรรพนามที่ไม่ชี้เฉพาะ  ได้แก่   ใคร  อะไร    ซึ่งมีรูปซ้ำกับสรรพนามใช้ถาม  แต่ความหมายจะแสดงความไม่แน่นอน  ไม่ได้ใช้ถามบางครั้งจะใช้คำซ้ำ  เช่น  ใดๆ  ใครๆ   อะไรๆ    ตัวอย่าง

                        ใดๆ ในโลกล้วนอนิจจัง

                        อะไรๆ ฉันก็กินได้

                        ใครๆ ก็ชอบคนเก่ง

            ๕. สรรพนามบอกความชี้ซ้ำ  แบ่งพวก หรือรวมพวก (วิภาคสรรพนาม)  เป็นคำแทนนามข้างหน้า  เพื่อให้รู้ว่านามนั้นแยกได้เป็นส่วนๆ  เช่นเดียวกัน  แต่ทำกริยาโต้ตอบซึ่งกันและกันอยู่หรือเกี่ยวข้องกัน  เช่น  ทหารยิงกัน  ผัวเมียตีกัน  เขารักซึ่งกันและกัน  นักเรียนบ้างก็เล่นบ้างก็เรียน

            ๖. ประพันธ์สรรพนาม  เป็นคำสรรพนามที่ใช้เป็นบทเชื่อมข้อความหรือประโยคที่เกี่ยวกับนามที่อยู่ข้างหน้า  มีอยู่ ๓ คำ  คือ   ที่   ซึ่ง   อัน   ตัวอย่าง

                        เขาตีแมวที่กินปลาย่าง

                        หล่อนรับประทานอาหารซึ่งแม่ปรุงให้

                        แป้งหอมตรามดแดงช่วยถนอมผิวอันบอบบางของทารก

            ๗. สรรพนามที่ใช้แทนนามที่อยู่ข้างหน้า   เช่น

                        คุณนายเธออยากจะมีงานมากขึ้น

                        นายแสวงเขาคงจะเรียนไม่จบ

                        คุณครูท่านชอบคุยเรื่องส่วนตัว

         คำกริยา

            คำกริยาเป็นคำแสดงอาการหรือบอกสภาพของนาม หรือสรรพนามที่เป็นประธานของประโยค  เช่น

                        คนไทยกินข้าวทุกวัน    : คนไทยเป็นนามที่ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค

                                                                          กินข้าวทุกวัน  แสดงอาการหรือสภาพให้ผู้อื่นรู้

คำกริยามี  ๔  ชนิด  ดังนี้คือ

            ๑. อกรรมกริยา  เป็นกริยาที่ไม่ต้องมีกรรมมารับ    เช่น

                        หน้าต่างเปิด

                        หล่อนเดิน

                        เขาร้องเพลง

            ๒. สกรรมกริยา   เป็นกริยาที่ต้องมีกรรมมารับ   เช่น

                        นักเรียนปิดประตู                        เขาดื่มกาแฟทุกวัน

            ๓. กริยาอาศัย ส่วนเติมเต็ม  (วิกตรรถกริยา)  เป็นคำกริยาที่ต้องมีคำมาประกอบเพื่อให้ได้ความสมบูรณ์  แต่คำที่ตามมานั้นไม่ใช่กรรม  คำกริยาชุดนี้ได้แก่  เป็น  เหมือน  คือ  คล้าย  เช่น

                                    คนซื่อสัตย์คือผู้มีเกียรติ

                                    คนขยันอ่านหนังสือเป็นคนฉลาด

                                    เธอเหมือนดาราภาพยนตร์

                                    เขาคล้ายพ่อ

            ๔. กริยาช่วย (กริยานุเคราะห์)   เป็นกริยาที่ใช้ประกอบหรือช่วยกริยาหลักของประโยค อาจประกอบข้างหน้าหรือข้างหลังก็ได้    ตัวอย่าง

                                    นักเรียนถูกเฆี่ยน

                                    เขาต้องมาที่นี่

                                    ฉันเคยไปแล้ว

                                    ท่านเพิ่งจะเดินทางกลับมาจากต่างจังหวัด

0 comments:

Post a Comment