Wednesday, May 1, 2013

หน้าที่ของพยัญชนะ

หน้าที่ของพยัญชนะ
        ๑. เป็นพยัญชนะต้น คือ  พยัญชนะซึ่งอยู่ต้นพยางค์ พยัญชนะทุกตัวทำหน้าที่เป็นพยัญชนะต้นได้
        ๒. เป็นตัวสะกด คือ พยัญชนะที่อยู่ท้ายพยางค์มี ๘ เสียง เรียกว่ามาตราสะกด ได้แก่     
                แม่กน  มี น เป็นตัวสะกด และตัวอื่นทำหน้าที่เป็นตัวสะกดแทนได้ ได้แก่ น  ญ ณ ร ล ฬ
                แม่กง   มี ง เป็นตัวสะกด
                แม่กม   มี ม เป็นตัวสะกด
                แม่เกอว มี ว เป็นตัวสะกด
                แม่กก   มี ก เป็นตัวสะกด และตัวอื่นทำหน้าที่เหมือนตัว ก ได้แก่ ก ข ค ฆ
                แม่กด   มี ด เป็นตัวสะกดและตัวอื่นทำหน้าที่เหมือนตัว ด ได้แก่ ด จ ช ซ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ถ ท ธ
                แม่กบ   มี บ เป็นตัวสะกด และตัวอื่นทำหน้าที่เหมือนตัว บ ได้แก่ บ ป พ ฟ  ภ         
             เสียงพยัญชนะท้ายพยางค์หรือพยัญชนะสะกด เช่น
                /ก/ มัก มรรค สุก สุด เมฆ                /ด/ บาท ชาติ  คาด กฎหมาย ปรากฏ
                /บ/ บาป พาบภาพ ลาภ กราฟ          /ง/ ทาง องค์
                /น/ กาน บริเวณ เรียน กาล กาฬ      /ม/ คำ ธรรม             
                /ย/ ได ใย ชัย อาย                         /ว/ เสา สาว
        ๓. เป็นตัวการันต์ คือ พยัญชนะที่อยู่ท้ายแต่ไม่ออกเสียงส่วนมากมาจากภาษาอื่น
        ๔. เป็นตัวอักษรควบ คือ พยัญชนะที่ออกเสียงกล้ำกับ ร ล ว
        ๕. เป็นอักษรนำ คือ พยัญชนะ ๒ ตัวประสมกันสระเดียวกันแต่ออกเสียง ๒ พยางค์
        ๖. พยัญชนะที่เป็นรูปสระด้วย คือ ย ว อ
        ๗. พยัญชนะอัฒสระ คือ พยัญชนะที่มีเสียงกึ่งสระ ได้แก่ ย (อิ อี) ร (ฤ ฤา) ล (ฦ ฦา) อ (อุ อู  )
        ๘. พยัญชนะที่ไม่ใช้เป็นตัวสะกด ได้แก่ ฌ ฉ ผ ฝ ห อ ฮ (ฃฅ)
        ๙. พยัญชนะทีทำไม่ใช้ในปัจจุบัน คือ ฃ ฅ

0 comments:

Post a Comment