Tuesday, April 30, 2013

คำอุทาน

 คำอุทาน คือ คำที่เปล่งออกมาเพื่อแสดงอารมณ์หรือความรู้สึกของผู้พูด มักจะเป็นคำที่ไม่มีความหมาย แต่เน้นความรู้สึก
และอารมณ์ของผู้พูด เสียงที่เปล่งออกมาเป็นคำอุทานนี้ แบ่งเป็น 3 ลักษณะ

1. เป็นคำ เช่น โอ๊ย ว้าย แหม โถ เป็นต้น
2. เป็นวลี เช่น พุทโธ่เอ๋ย คุณพระช่วย ตายละว้า เป็นต้น
3. เป็นประโยค เช่น ไฟไหมเจ้าข้า ป้าถูกรถชน เป็นต้น
          คำอุทานแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
          1. อุทานบอกอาการ ใช้เปล่งเสียงเพื่อบอกอาการและความรู้สึกต่างๆของผู้พูด เช่น
ร้องเรียก หรือบอกเพื่อให้รู้สึกตัว เช่น แน่น เฮ้ โว้ย เป็นต้น
โกรธเคือง เช่น ชิชะ ดูดู๋ เป็นต้น
ตกใจ เช่น ตายจริง ว้าย เป็นต้น
สงสาร เช่น อนิจจา โถ เป็นต้น
โล่งใจ เช่น เฮ้อ เฮอ เป็นต้น
ขุ่นเคือง เช่น อุวะ แล้วกัน เป็นต้น
ทักท้วง เช่น ฮ้า ไฮ้ เป็นต้น
เยาะเย้ย เช่น หนอย ชะ เป็นต้น
ประหม่า เช่น เอ้อ อ้า เป็นต้น
ชักชวน เช่น นะ น่า เป็นต้น
          2. อุทานเสริมบท คือ คำพูดเสริมขึ้นมาโดยไม่มีความหมาย อาจอยู่หน้าคำ หลังคำหรือแทรกกลางคำ เพื่อเน้นความหมาย ของคำที่จะพูดให้ชัดเจนขึ้น เช่น อาบน้ำอาบท่า ลืมหูลืมตา กินน้ำกินท่า ถ้าเนื้อความมีความหมายในทางเดียวกัน เช่น ไม่ดูไม่แล ร้องรำทำเพลง เราเรียกคำเหล่านี้ว่า คำซ้อน

0 comments:

Post a Comment